Page 201 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 201
ข้อความในจารึกศาลสูงบ่งชี้ว่าในเมืองลพบุรีช่วงนั้นมีทั้งพุทธศาสนา (นิกายสถวีระหรือ
เถรวาทและนิกายมหายาน) และศาสนาพราหมณ์เจริญอยู่ นอกจากนี้ยังได้พบจารึกศาลเจ้า
เมืองลพบุรี ซึ่งมีอายุร่วมสมัยกับจารึกศาลสูงหลักที่ 1 โดยมีเนื้อหากล่าวถึงการกัลปนาหรือ
ถวายที่ดิน คนรับใช้ และสิ่งของต่างๆ แด่พระบรมวาสุเทพ (พระนารายณ์) โดยมีค าภาษาเขมร
54
ว่า “สฺรุกโลฺว” คือเมืองละโว้ปรากฏอยู่ด้วย โดยศาสตราจารย์เซเดส์เสนอว่า
“...จารึกเหล่านี้ท าให้เราทราบว่า ศาสนาต่างๆ ที่ประพฤติปฏิบัติกันอยู่
ในอาณาจักรกัมพูชา ได้มีทั้งนักพรตและศาสนสถานอยู่ที่เมืองละโว้ แต่การที่
ศาสนสถานส่วนใหญ่ ณ เมืองลพบุรี อยู่ในพุทธศาสนา รวมทั้งได้ค้นพบ
พระพุทธรูปเป็ นจ านวนมาก ก็แสดงให้เห็นว่า แม้ตกอยู่ภายใต้การ
ครอบครองของขอมพุทธศาสนา ณ เมืองลพบุรี ก็ยังคงมีความส าคัญอยู่
เช่นเดียวกับสมัยทวารวดี”
55
หลักฐานงานประติมากรรมที่น่าสนใจจากศาลสูงเมืองลพบุรีอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงให้
เห็นถึงการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมรคือ ประติมากรรมหินทราย
รูปเทพธิดา 2 องค์ ซึ่งมีรูปแบบศิลปะเขมรสมัยบาปวนตอนปลาย (ราวครึ่งแรกของพุทธ
ศตวรรษที่ 17) โดยประติมากรรมชิ้นนี้ท ามาจากเสาแปดเหลี่ยมซึ่งอาจเคยรอบรับพระธรรมจักร
56
ในสมัยทวารวดี (ภาพที่ 169)
ภาพที่ 169
ภาพสลักเทพธิดา พบที่ศาลสูง จังหวัดลพบุรี
จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
195