Page 197 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 197
ภาพที่ 165
แผ่นทองดุนลายรูปพระวิษณุและบริวาร
จากเมืองศรีเทพ
จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ Norton Simon
ประเทศสหรัฐอเมริกา
(ที่มา: https://www.nortonsimon.org/collections/
browse_title.php?id=F.1972.19.2.S)
ควรกล่าวไว้ด้วยว่า นอกจากจะพบจารึกคาถาเย ธมฺมา ภาษาบาลี ที่เมืองศรีเทพแล้ว
ในบริเวณใกล้เคียงกับเมืองศรีเทพยังได้พบจารึกส าคัญหลักหนึ่ง คือ จารึกบ้านวังไผ่ (พบที่
อ าเภอวิเชียรบุรี ห่างจากเมืองศรีเทพไปทางทิศเหนือ 10 กิโลเมตร) ซึ่งจารเป็นอักษรปัลลวะ
ภาษาสันสกฤต มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวถึง พระราชาองค์หนึ่งผู้เทียบพระองค์กับ
42
พระเจ้าภววรมันที่ 1 แห่งอาณาจักรเจนละ (กัมพูชาสมัยก่อนเมืองพระนคร) โดยมีข้อความว่า
“ในปีรัชสมัยแห่งศักราช - - - อันเป็นวันขึ้น 8 ค ่า พระเจ้าแผ่นดินพระองค์
ใด ผู้เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้า
ปฤถิวีนทรวรมัน ผู้เป็นใหญ่เสมอกับพระเจ้าศรีภวรรมัน พระเจ้าแผ่นดินพระองค์
นั้น เป็นผู้มีคุณธรรม แผ่ไปในทุกทิศ ผู้มีปัญญาอันฝึกอบรมมาดีแล้ว ผู้มีความยินดี
- - - ผู้มีเกียรติยศแผ่ไปในทุกทิศ ผู้มีอ านาจอันเป็นที่เกรงกลัวของศัตรูเมืองใกล้เคียง
43
ทั้งหลายได้สร้างศิลาจารึกไว้ในโอกาสที่ขึ้นครองราชย์ของพระองค์”
จารึกบ้านวังไผ่และกลุ่มเทวรูปในศาสนาพราหมณ์เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึง
ความสัมพันธ์บางประการระหว่างดินแดนแถบเมืองศรีเทพกับวัฒนธรรมเขมรสมัยก่อนเมือง
พระนคร ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้นายไฮแรม วูดวาร์ด (Hiram Woodward) นักประวัติศาสตร์ศิลปะ
ชาวอเมริกันได้ชี้ให้เห็นความเคลื่อนไหวของบ้านเมือง “เจนละบก” (จีนเรียกว่า Wendan) ใน
44
เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและแถบเมืองศรีเทพด้วย และน่าสังเกตว่าจารึกแผ่น
191