Page 3 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 3

ค ำน ำ


                              เอกสารค าสอนฉบับนี้ใช้ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา 300 221 โบราณคดีสมัย
                       ประวัติศาสตร์ในประเทศไทย 1 (Historical Archaeological in Thailand I) ซึ่งเป็นรายวิชา

                       บังคับในระดับปริญญาตรีหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) ทั้งยังสามารถใช้ในการเรียน
                       ในรายวิชา 300 513 โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทย (Historical Archaeological

                       in Thailand) ในระดับปริญญาโท (หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) และปริญญาเอก (หลักสูตร
                       ปรัชญาดุษฑีบัณฑิต) ได้อีกด้วย

                              เนื้อหาของเอกสารเล่มนี้ (ปรับปรุงมาจากเอกสารประกอบการสอนที่ผู้เขียนใช้มาตลอด
                       ระยะเวลา 5 ปีภายหลังจากจบการศึกษาปริญญาเอก) ประกอบด้วย ข้อมูลทางประวัติศาสตร์

                       โบราณคดี และรูปแบบศิลปกรรมของสมัยทวารวดีและสมัยศรีวิชัย โดยมีการปูพื้นฐานเกี่ยวกับ
                       ประวัติการศึกษาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทย และน าเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ

                       โบราณคดีสมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์หรือกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ด้วย
                              ทั้งนี้ผู้เขียนได้พยายามรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะท าได้ ทั้งจาก

                       ข้อมูลเอกสารโบราณ, การศึกษาค้นคว้าในอดีต, การขุดค้นเมื่อไม่นานมานี้ของกรมศิลปากรและ
                       นักวิชาการต่างๆ รวมทั้งผลการขุดค้นของผู้เขียนเองที่เมืองนครปฐมและเมืองอู่ทอง

                       ด้วยมุ่งหวังให้นักศึกษาได้เข้าถึงข้อมูลที่ทันสมัย ตลอดจนเข้าใจแนวคิดหรือข้อสันนิษฐานที่
                       หลากหลายและไม่หยุดนิ่งให้มากที่สุด (อันเป็นธรรมชาติของวิชาโบราณคดี) เพื่อที่จะสามารถ

                       น าไปประยุกต์ใช้ในการเรียนระดับสูงขึ้นไปหรือใช้ในการท างานโบราณคดีในอนาคตได้
                              ผู้เขียนขอขอบคุณคณาจารย์ที่ภาควิชาโบราณคดีทุกท่านที่ถ่ายทอดความรู้มา

                       โดยตลอดจวบจนถึงขณะนี้ โดยเฉพาะศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.ผาสุข อินทราวุธ และ
                       รองศาสตราจารย์ มยุรี วีระประเสริฐ ซึ่งเปรียบเสมือนครูผู้จุดประกายและเป็นต้นแบบให้ผู้เขียน

                       ได้สนใจในการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับโบราณคดีสมัยทวารวดี-ศรีวิชัย (และเขมร) อยู่ตลอดเวลา
                       แต่ถ้าหากมีข้อบกพร่องประการใดในเอกสารฉบับนี้ย่อมถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน

                       ฝ่ายเดียวเท่านั้น


                                                                         ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง
                                                                               ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี
                                                                                         มหาวิทยาลัยศิลปากร











                                                                ก
   1   2   3   4   5   6   7   8