Page 8 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 8
คล้ายตัวอักษรเป็นจ านวนมาก แต่ในปัจจุบันสามารถอ่านตัวอักษรได้เพียงเล็กน้อย
เท่านั้น
2) เป็นช่วงเวลาที่ชุมชนใดชุมชนหนึ่งยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ แต่สามารถ
รับรู้หรือศึกษาเรื่องราวของชุมชนนั้นๆ ได้จากเอกสารของชุมชนอื่นๆ ที่กล่าวถึง
2
เช่นในกรณีของเอกสารจีนที่ระบุถึงชื่อบ้านเมืองโบราณหลายแห่งในเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้นับตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 6 (พ.ศ. 500) หรือการกล่าวถึง
ดินแดน “สุวรรณภูมิ” ตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 ในเอกสารโบราณของอินเดียและ
ศรีลังกา เป็นต้น
ทั้งนี้การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในประเทศไทยก็ใช้ตาม
หลักเกณฑ์ข้างต้น ดังนี้
1. สมัยก่อนประวัติศำสตร์ในประเทศไทย
มีอายุตั้งแต่ราว 500,000 ปีมาแล้ว คือตั้งแต่เริ่มพบชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์
โบราณที่เก่าที่สุดบนผืนแผ่นดินไทย โดยแบ่งออกเป็นยุคย่อยๆ ได้ดังนี้
1) ยุคหินเก่า (กลุ่มคนหาของป่า-ล่าสัตว์) มีอายุราว 500,000 – 10,000 ปีมาแล้ว
2) ยุคหินกลาง (สังคมหาของป่า-ล่าสัตว์) มีอายุราว 10,000 – 5,000 ปีมาแล้ว
3) ยุคหินใหม่ (หมู่บ้านเกษตรกรรม) มีอายุราว 5,000 – 3,500 ปีมาแล้ว
4) ยุคโลหะ (หมู่บ้านเกษตรกรรมและชุมชนขนาดใหญ่) อาจแบ่งย่อยเป็นยุคส าริด
และยุคเหล็ก มีอายุราว 3,500 – 1,500 ปีมาแล้ว
2. สมัยหัวเลี้ยวประวัติศำสตร์ในประเทศไทย
มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 3 – 11 (พ.ศ. 200 – 1100 หรือ 2,350 – 1,450 ปีมาแล้ว)
เป็นช่วงเวลาที่ยังไม่ปรากฏการใช้ตัวอักษร แม้ว่าจะมีการพบตราประทับหรือภาชนะดินเผาที่มี
อักขระอยู่บ้างทางภาคใต้ แต่ก็น่าจะเป็นวัตถุที่น าเข้ามาจากต่างประเทศโดยเฉพาะอินเดีย
นอกจากนี้ยังเป็นช่วงเวลาที่เอกสารโบราณของต่างประเทศมักกล่าวถึงชื่อบ้านเมืองซึ่ง
3
นักวิชาการเชื่อว่าบ้านเมืองบางแห่งคงตั้งอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น เตียนซุน,
จินหลิน, ตักโกละ เป็นต้น หากกล่าวโดยสรุปอย่างง่ายๆ สมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์คือ
ช่วงรอยต่อระหว่างสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย (ยุคเหล็ก) กับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์
3. สมัยประวัติศำสตร์ในประเทศไทย
มีอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 (พ.ศ. 1100) จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่พบ
จารึกโบราณหลายหลักที่บันทึกเรื่องราวหรือหลักธรรมทางศาสนาอันเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม
ต่างๆ ทั้งวัฒนธรรมเขมรโบราณหรือวัฒนธรรมทวารวดี โดยแบ่งออกเป็นสมัยย่อยๆ ดังนี้
1. ช่วงก่อน พ.ศ. 1800
1) สมัยทวารวดี ช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 (ราว พ.ศ. 1100 – 1600)
2