Page 9 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 9
2) สมัยศรีวิชัย ช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 – 18 (ราว พ.ศ. 1200 – 1800)
3) สมัยวัฒนธรรมเขมร ช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 – 18 (ราว พ.ศ. 1100 – 1800)
2. ช่วงหลัง พ.ศ. 1800
1) สมัยสุโขทัย ช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 – 21 (ราว พ.ศ. 1800 – 2000)
2) สมัยล้านนา ช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 – 25 (ราว พ.ศ. 1800 – 2400)
3) สมัยอยุธยา ช่วง พ.ศ. 1893 – 2310
4) สมัยธนบุรี ช่วง พ.ศ. 2310 – 2325
5) สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วง พ.ศ. 2325 จนถึงปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่า ล าดับอายุของแต่ละสมัยข้างต้นไม่ได้เกิดขึ้นและจบลงอย่างต่อเนื่องกัน
แต่มีลักษณะซ้อนเหลื่อมกันหรือด าเนินไปควบคู่กัน เพราะในบางพื้นที่เกิดชุมชนสมัย
ประวัติศาสตร์ในระยะแรกเริ่มขึ้นแล้ว แต่ก็ยังคงพบชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย
(ยุคเหล็ก) อยู่ หรือกรณีพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่
วัฒนธรรมทวารวดีเจริญขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12- 16 ก็ปรากฏอิทธิพลวัฒนธรรมเขมร
โบราณขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ลักษณะเช่นนี้ก็เกิดขึ้นในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่
1- 5) ที่มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ในเขตภาคกลาง โดยที่แถบภาคเหนือก็เป็นวัฒนธรรม
ล้านนาซึ่งเจริญควบคู่กันและมีการติดต่อสัมพันธ์กันอยู่เสมอๆ ด้วย
ดังนั้นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีนี้จึงเป็นไปเพื่อความสะดวกใน
การศึกษาล าดับพัฒนาการของมนุษย์ หรือเพื่อเปรียบเทียบสังคมวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในมิติของ
เวลา (time) อันสัมพันธ์กับมิติด้านพื้นที่ (space) แต่สิ่งที่ส าคัญก็คือ ควรมีการศึกษาถึง
เอกลักษณ์ หรือความหลากหลาย หรือการผสมผสาน ทั้งทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ
ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน ฯลฯ ของชุมชนหรือบ้านเมืองโบราณในสมัยต่างๆ ซึ่งท้ายที่สุดนั้น
ก็เพื่อท าความเข้าใจอดีตในทุกแง่ทุกมุมก่อนที่จะเป็นประเทศไทยในปัจจุบันนั่นเอง
1.2 สังเขปประวัติกำรศึกษำโบรำณคดีสมัยประวัติศำสตร์ในประเทศไทย
การศึกษาทางประวัติศาสตร์หรือโบราณคดีในประเทศไทยคงเริ่มต้นขึ้นในรัชสมัยของ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยเจ้าฟ้ามงกุฏหรือพระวชิรญาณมหาเถระ
ได้เสด็จไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ เมื่อ พ.ศ. 2374 พระวชิรญาณมหาเถระทรงมีพระด าริว่า
สมควรที่จะต้องท าการบูรณปฏิสังขรณ์ จึงได้น าความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ทรงมีพระราชด ารัสว่า “เป็นของอยู่ในป่ารก จะท าขึ้นก็เห็นไม่เป็น
4
ประโยชน์อันใดนัก” พระประสงค์คราวนั้นจึงต้องระงับไว้ก่อน และใน พ.ศ. 2376 พระวชิรญาณ
มหาเถระยังได้เสด็จไปยังเมืองสุโขทัย ทรงค้นพบศิลาจารึกหลักที่ 1, พระแท่นมนังคศิลาบาตร
5
และศิลาจารึกหลักที่ 4 วัดป่ามะม่วงอีกด้วย
3