Page 11 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 11
ข้อความตอนหนึ่งในบันทึกของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์กล่าวว่า “...ได้ชัณสูตรขุดลงไป
ดูลึกสองศอกสามศอกบ้าง พบอิฐยาวศอกหนึ่งหน้าใหญ่สิบสองนิ้ วหน้าน้อยหกนิ้ ว
9
ก็เป็นพื้นอยู่ พิเคราะห์ดูเห็นว่าจะเป็นองค์พระเจดีย์เดิมจะหักพังลงมา...” ข้อควำมนี้
เป็นหลักฐำนเอกสำรที่กล่ำวถึงกำรขุดค้นครั้งแรกเพื่อตรวจสอบของโบรำณในประเทศ
สยำม ก่อนจะมีกำรวำงรำกฐำนกำรศึกษำขุดค้นทำงโบรำณคดีอย่ำงเป็นระบบในเวลำ
10
ต่อมำ
ไม่เพียงแต่ทรงสนพระราชหฤทัยในการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์เท่านั้น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีพระราชนิพนธ์ถึงศิลาจารึกคาถา เย ธมฺมา ขุดพบ
บริเวณพระปฐมเจดีย์ พระองค์ทรงกล่าวอีกว่า ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ยังเคยพบจารึก
11
คาถา เย ธมฺมา บนแผ่นอิฐ และบนพระพิมพ์ด้วย
ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบรมวงศานุวงศ์อีกท่านหนึ่งที่ให้ความสนพระทัยในเรื่อง
ประวัติศาสตร์โบราณคดีคือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยากรณ์ ซึ่งได้มี
พระนิพนธ์เรื่อง “พระปฐมเจดีย์” ทรงกล่าวว่าเคยมีโบราณสถานอยู่เป็นจ านวนมาก ดังนี้
“แผ่นดินในเมืองนั้นก็หนาสูงขึ้นมาก วัดวิหารเจดียสถานหักพังจมลงอยู่ใต้ดินมีมากหลายแห่ง
12
หลายต าบล เขาเล่าว่าสองศอกบ้าง สามศอกบ้าง สามศอกเศษบ้างต่างๆกัน...” ทั้งยังทรง
13
กล่าวถึงพระพิมพ์ดินเผาและธรรมจักรศิลาอีกด้วย
ดังนั้นจึงน่ำสังเกตว่ำงำนโบรำณคดีระยะแรกเริ่มในสยำมประเทศเริ่มต้นขึ้นที่
เมืองนครปฐมซึ่งเป็นเมืองโบรำณส ำคัญในสมัยทวำรวดี
ใน พ.ศ. 2397 รัชกาลที่ 4 ยังทรงออกหมายประกาศเขตรังวัดผู้ร้ายขุดวัด
โดยก าหนดให้ราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างจากศาสนสถานและวัดร้างในระยะ 4 เส้นโดยรอบมี
หน้าที่สอดส่องดูแลมิให้ผู้ร้ายลักลอบขุดหาทรัพย์สิน ได้ก าหนดพินัยปรับแก่ราษฎรผู้เพิกเฉย
โดยมีพระราชด ารัสส าคัญว่า “....เพราะของที่เป็นของท่านท าไว้สร้างไว้แต่ก่อนด้วยอิฐปูน
ศิลาใดๆ ใหญ่ก็ดี เล็กก็ดี ถึงจะคร ่าคร่าช ารุดทรุดโทรมไปแล้ว ก็ยังเป็นเครื่องประดับ
14
พระนครอยู่...” นอกจากนี้ ใน พ.ศ. 2402 รัชกาลที่ 4 ยังได้โปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งประพาส
พิพิธภัณฑ์ขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรักษาโบราณศิลปวัตถุที่ทรงรวบรวมเอาไว้
15
และใน พ.ศ. 2409 รัชกาลที่ 4 ยังทรงมีพระราชนิพนธ์เรื่อง “ต านานพระพุทธชินราช พระพุทธ
ชินศรี และพระศรีศาสดา” โดยพระองค์ใช้ข้อมูลจาก “...ค าโบราณเล่าและเขียนจดหมายสืบๆ
16
มาในราชพงศาวดารเมืองเหนือ...”
5