Page 15 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 15

ข้อความข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่าการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีนั้นจ าเป็น
                       จะต้องมีการเสนอแนะข้อสันนิษฐานที่จะมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพราะต้องขึ้นอยู่กับ
                       ข้อมูลหลักฐานที่ใช้ประกอบข้อสันนิษฐานนั้นๆ โดยผู้ศึกษาจะต้องพร้อมที่จะน้อมรับใน

                       ข้อผิดพลาดและพยายามปรับปรุงรวมทั้งยินดีกับข้อสันนิษฐานอื่นๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ

                       มากกว่า นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่างานโบราณคดีนั้นมีประโยชน์ส าคัญอย่างหนึ่งคือ
                       เพื่อก่อให้เกิดความภาคภูมิใจของคนในประเทศด้วยนั่นเอง


                              1.2.4  พระบิดำแห่งประวัติศำสตร์และโบรำณคดีไทย

                              ไม่เป็นที่สงสัยเลยถึงคุณูปการทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของสมเด็จพระเจ้า
                       บรมวงศ์เธอ กรมพระยาด ารงราชานุภาพ ผู้ได้รับยกย่องให้เป็น “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์

                       และโบราณคดีไทย” และทรงเป็นบุคคลส าคัญของโลก พระองค์ทรงมีพระนิพนธ์มากมาย
                       อาทิเช่น ต านานพระพุทธรูปส าคัญ ไทยรบพม่า นิราศนครวัด (ภาพที่ 3) เที่ยวเมืองพม่า เรื่อง

                       ประดิษฐานพระสงฆ์ สยามวงศ์ในลังกาทวีป สาสน์สมเด็จ (นิพนธ์ร่วมกับสมเด็จฯ กรมพระยา
                       นริศรานุวัติวงศ์) นิทานโบราณคดี และเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ เป็นต้น โดยพระนิพนธ์ที่มี

                       อิทธิพลมากที่สุดต่อการศึกษาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ในระยะเวลาต่อมาคือ ต ำนำน
                       พุทธเจดีย์สยำม จัดพิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2469




























                               ภาพที่ 3 สมเด็จฯ กรมพระยาด ารงราชานุภาพ ณ ปราสาทตราพรหม ประเทศกัมพูชา
                                                กลางภาพคือ ศาสตราจารย์ ยอร์ซ เซเดส์

                             (ที่มา: สมเด็จฯ กรมพระยาด ารงราชานุภาพ, นิราศนครวัด (กรุงเทพฯ: มติชน, 2545), 177.)








                                                                9
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20