Page 19 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 19
ส่วนหนังสือ “โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานส าหรับพระนคร” นั้นพิมพ์เผยแพร่เมื่อ
พ.ศ. 2471 เนื้อหาส่วนส าคัญคือ “การอธิบายสมัยโบราณวัตถุในสยามประเทศ ตามที่มีอยู่ใน
พิพิธภัณฑสถานส าหรับพระนคร” ซึ่งศาสตราจารย์เซเดส์ได้จัดแบ่งยุคสมัยออกเป็น 7 สมัย
ประกอบด้วย สมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี สมัยเชียงแสนรุ่นเก่า สมัยสุโขทัย สมัย
เชียงแสนรุ่นหลัง และสมัยอู่ทอง พร้อมทั้งให้ค าอธิบายถึงประวัติศาสตร์ของแต่ละสมัยอย่าง
31
คร่าวๆ รวมถึงพรรณนาแบบศิลปะโดยเฉพาะรูปแบบของพระพุทธรูปสมัยนั้นๆ ด้วย
ศาสตราจารย์เซเดส์กล่าวไว้ในตอนต้นของบทความเรื่องการอธิบายโบราณวัตถุใน
สยามประเทศฯ ว่า
“การศึกษาโบราณคดีของสยามประเทศ แลการจัดพิพิธ
ภัณฑสถานส าหรับพระนคร มีข้อส าคัญอย่าง 1 คือ ในโบราณกาล
ประเทศนี้เจริญรุ่งเรืองหลายครั้งหลายคราว ก่อนที่ชนชาติไทยได้
ตั้งขึ้นเปนอิสสระเมื่อราว พ.ศ. 1800 ประเทศที่เปนราชอาณาจักร
สยามเดี๋ยวนี้ หาได้รวบรวมเปนประเทศเดียวเหมือนอย่างทุกวันนี้ไม่
ยังแตกเปนเมืองขึ้นอยู่หลายอาณาจักร์ด้วยกัน คือ หัวเมืองข้าง
ตะวันออกของแม่น ้าเจ้าพระยาขึ้นกรุงกัมพูชา หัวเมืองซึ่งเดี๋ยวนี้
รวบรวมเปนมณฑลพายัพอยู่ในปกครองของราชวงศ์ชาติรามัญ
ส่วนหัวเมืองปักษ์ใต้ขึ้นกรุงศรีวิชัยในเกาะสุมาตรา เปนต้น ลัทธิ
ธรรมเนียม ราชประเพณี สาสนา แลศิลปะ ของกรุงกัมพูชา กรุง
ศรีวิชัย แลประเทศรามัญ ที่เปนประมุขของประเทศราชจึงได้
แพร่หลายในอาณาเขต์ที่เปนสยามประเทศบัดนี้ เพราะฉะนั้น
โบราณสถานแลโบราณวัตถุที่ค้นได้ในสยามประเทศจึงมีลักษณะ
ต่างๆ กัน หาเปนฝีมือช่างไทยอย่างเดียวไม่...”
32
ข้อความข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่า การศึกษาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศ
ไทยโดยเฉพาะในช่วงเวลาก่อน พ.ศ. 1800 มีความจ าเป็นที่จะต้องศึกษาประวัติศาสตร์และ
โบราณคดีของประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควบคู่ไปด้วย เพื่อจะได้เข้าใจ
เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในภาพรวม ตลอดจนเข้าใจถึงลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของ
ประเทศต่างๆ ที่เคยมีบทบาทหรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทางใดทางหนึ่ง ดังจะเห็นได้จาก
การที่ศาสตราจารย์เซเดส์พยายามค้นคว้าเรียบเรียงหนังสือเรื่อง “Les États hindouisés
d’Indochine et d’Indonésie” หรือแปลเป็นภาษาอังกฤษในชื่อ “The Indianized States of
Southeast Asia” โดยศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล เรียบเรียงเป็นภาษาไทยในชื่อ
13