Page 20 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 20
33
“ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ถึง พ.ศ. 2000” ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนดินแดนไทยนั้น
ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์อาเซียนในสมัยโบราณนั่นเอง
อนึ่ง ในปี 2470 ได้มีการก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานส าหรับพระนครขึ้น โดยอยู่ในสังกัดของ
ราชบัณฑิตยสภา มีสมเด็จฯ กรมพระยาด ารงราชานุภาพทรงเป็นนายกสภา และพระยาโบราณ
ราชธานินทร์เป็นอุปนายกฝ่ายโบราณคดี โดยเปิดรับนักเรียนที่จบมัธยมปีที่ 8 เข้าท างานใน
พิพิธภัณฑสถานนั้น อันมี หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และนายมานิต วัลลิโภดม เข้าท างานด้วย
โดยผู้ที่ถ่ายทอดงานด้านพิพิธภัณฑ์และโบราณคดีให้ก็คือ สมเด็จฯ กรมพระยาด ารงราชานุภาพ
“...ทรงสอนให้รู้จักดูศิลปวัตถุ ท าทะเบียนโบราณวัตถุส าหรับพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งทรงสั่ง
ให้ฝึกฝนอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส รวมทั้งไปเรียนภาษาจีนด้วย...”
34
หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) นั้น (ท่านด ารงต าแหน่งคณบดีคนแรกของคณะ
โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ช่วงปี 2498 - 2504) เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของงานด้าน
พิพิธภัณฑสถาน ดังจะเห็นได้จากลายพระหัตถ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาด ารงราชานุภาพที่ว่า
“ฉันรักหลวงบริบาลฯ เท่าไร หลวงบริบาลฯ ทราบอยู่แล้ว ถ้ารักฉันตอบ ขอให้พยายาม
บ ารุงรักษาพิพิธภัณฑสถานซึ่งเป็นของรักของฉันให้ถาวรต่อไป ดีกว่าสนองคุณ
ด้วยประการอื่น” ท่านยังเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง “โบราณคดี” โดยมีบทความเรื่อง
35
โบราณวัตถุสถานในประเทศไทย, ลักษณะพระพุทธรูปสมัยต่างๆ ในประเทศไทย และ
36
“นิเทศแห่งวิชำโบรำณคดี” ซึ่งเป็นความรู้เบื้องต้นทางโบราณคดี รวมอยู่ด้วย
ส่วนศาสตราจารย์ มานิต วัลลิโภดม เคยด ารงต าแหน่งหัวหน้าแผนกพิพิธภัณฑ์
พระนครของกองโบราณคดีและหัวหน้าแผนกส ารวจของกรมศิลปากร งานครั้งส าคัญของ
37
ท่านคือ การขุดแต่งขุดค้นเมืองดงแม่นางเมือง อ าเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ และ
“กำรส ำรวจและขุดแต่งโบรำณวัตถุสถำนในภำคตะวันออกเฉียงเหนือ” ในช่วงปี 2502 –
2505 อันเป็นการขุดแต่งปราสาทเขมรในประเทศไทยเป็นครั้งแรกและถือว่าเป็นการบุกเบิก
การท างานโบราณคดีอย่างจริงจังในพื้นที่ภาคอีสาน นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้แต่งหนังสืออีก
หลายเรื่อง เช่น สุวรรณภูมิอยู่ที่ไหน, ทักษิณรัฐ, น าเที่ยวพิมายและโบราณสถานส าคัญใน
จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น
นักโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ชาวไทยที่ส าคัญอีกสองท่านคือ นายสมศักดิ์ รัตนกุล
และนายคงเดช ประพัฒน์ทอง ซึ่งมักไม่ได้รับการกล่าวถึงความส าคัญของผลงานของท่าน
มากนัก นายสมศักดิ์ รัตนกุล เป็นข้าราชการในสังกัดกรมศิลปากร ท่านเป็นผู้ดูแลงานขุดค้น
ขุดแต่งโบราณสถานสมัยทวาวดีหลายแห่ง เช่น เมืองโบราณอู่ทอง เมืองโบราณคูบัว และเจดีย์
จุลประโทนที่เมืองโบราณนครปฐม ส่วนอาจารย์คงเดช ประพัฒน์ทอง ท่านเป็นทั้งอาจารย์
38
ประจ าคณะโบราณคดีและนักโบราณคดีในสังกัดกรมศิลปากร ผลงานชิ้นส าคัญคือหนังสือ
“โบรำณคดีประวัติศำสตร์ของคงเดช ประพัฒน์ทอง” ซึ่งเป็นการรวมบทความของท่านเป็น
14