Page 24 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 24
1.2.7 พัฒนำกำรของแนวคิดในกำรจัดแบ่งอำยุสมัยของศิลปะไทย
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า เค้าโครงหลักในการจัดแบ่งล าดับอายุสมัยทาง
ประวัติศาสตร์และโบราณคดีในประเทศไทย เป็นผลมาจากการท างานของสมเด็จฯ กรมพระยา
ด ารงราชานุภาพ, ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ และศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล
ซึ่งใช้เหตุการณ์หรือความเคลื่อนไหวทางประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองโบราณต่างๆ เป็นเกณฑ์
หลักในการแบ่ง (รูปแบบศิลปกรรม)
จนกระทั่งใน พ.ศ. 2520 ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ซึ่งจบการศึกษาปริญญาเอกจากประเทศ
สหรัฐอเมริกาภายใต้หัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “The Chula Pathon Cedi: Architecture and
48
Sculpture of Dvaravati” (จุลประโทนเจดีย์: สถาปัตยกรรมและประติมากรรมแห่งทวารวดี”
จึงได้น าเสนอแนวคิดในการจัดแบ่งอายุสมัยของศิลปกรรมในประเทศไทยเสียใหม่ โดยยึด
หลักการแบ่งตามชื่อชนชาติที่มีบทบาทและก าหนดเอกลักษณ์ของงานศิลปกรรมอยู่ในช่วงเวลา
49
นั้นๆ ดร.พิริยะ เสนอว่าศิลปะในประเทศไทย ควรแบ่งออกเป็น
1) ศิลปะแบบมอญ แทนค าว่า ศิลปะทวารวดี
2) ศิลปะแบบเขมร แทนค าว่า ศิลปะลพบุรี
3) ศิลปะแบบกลุ่มชนภาคใต้ แทนค าว่า ศิลปะศรีวิชัย
50
4) ศิลปะไทย
อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้เคยมีการใช้มาก่อนแล้วเช่นในหนังสือเรื่อง “A Concise History
of Buddhist Art in Siam” ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2481 นายเรจินาล์ด เลอ เมย์ (Reginald Le
May) ที่ได้จัดแบ่งงานศิลปะในประเทศไทยออกเป็น “สกุลช่าง” (Schools) ต่างๆ เช่น สกุลช่าง
อินเดียแท้, สกุลช่างมอญ-อินเดีย, สกุลช่างเขมร, สกุลช่างมอญ-เขมร, สกุลช่างไทย (สุโขทัย),
51
สกุลช่างไทย (ลพบุรี) ฯลฯ นอกจากนี้ข้อเสนอของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ยังน ามาสู่ข้อถกเถียง
ทางวิชาการอย่างกว้างขวางถึงความเหมาะสมในการน าชื่อชนชาติมาก าหนดเรียกรูปแบบ
52
ศิลปกรรมหรือยุคสมัย อย่างไรก็ดี ข้อเสนอของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ก็ได้น าไปสู่การ
ปรับเปลี่ยนชื่อยุคสมัยของ “ศิลปะลพบุรี” ไปเป็น “ศิลปะขอมหรือเขมรในประเทศไทย” ซึ่งมี
ความเหมาะสมมากกว่า
ต่อมา ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ได้น าเสนอแนวคิดใหม่อีกครั้งในการจัดแบ่งยุคสมัยของ
ศิลปกรรมโดยยึดการเปลี่ยนแปลงของคติความเชื่อทางศาสนาและลักษณะรูปภาพ
(Iconography) ของ รูปเคารพต่างๆ โดยท่านน าเสนอเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2544 ในหนังสือ
53
เรื่อง “อารยธรรมไทย: พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ” ก่อนจะเน้นย ้าอีกครั้งในหนังสือเรื่อง
“รากเหง้าแห่งศิลปะไทย” ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2553 โดยแบ่งยุคสมัยทางศิลปะออกเป็น
54
1) พุทธศิลป์
- ลัทธิศราวกยาน (ได้แก่ นิกายมหาสังฆิกะ, นิกายสัมมิตียะ, นิกายมูลสรรวาส
ติวาท, นิกายเถรวาท) ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 11 - ต้นพุทธศตวรรษที่ 14
18