Page 25 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 25
- ลัทธิมหายาน (นิกายสุขาวดี) ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 11 - กลางพุทธศตวรรษที่
15
- ลัทธิตันตระยาน (ได้แก่ กลุ่มจรรยาตันตระ, กลุ่มโยคะตันตระ,กลุ่มอนุตตระ-โยคะ
ตันตระ) ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 14 - ต้นพุทธศตวรรษที่ 19
- นิกายเถรวาท (อริยารหันตปักขะ และกัมโพชสงฆ์ปักขะ) ราวต้นพุทธศตวรรษที่
15 - ต้นพุทธศตวรรษที่ 20
- นิกายเถรวาท (คณะมหาวิหาร) ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 20 - ครึ่งหลังพุทธศตวรรษ
ที่ 21
- สยามนิกาย ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21 - ต้นพุทธศตวรรษที่ 25
- ธรรมยุติกนิกาย ราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 21 – ปัจจุบัน
2) พราหมณศิลป์
- ศิลปะเนื่องใน 6 ลัทธิภักติทรรศนะ (ได้แก่ ลัทธิไวษณพ นิกายภาควัตและนิกาย
ปาญจราตระ, ลัทธิไศวะ นิกายปาศุปัต, ลัทธิเสาระ, ลัทธิคาณปัตยะ, ลัทธิเกามาระ) ก่อนกลาง
พุทธศตวรรษที่ 14
- ศิลปะเนื่องใน 3 ลัทธิหลัก (ได้แก่ ลัทธิไวษณพ, ลัทธิไศวะ, ลัทธิศากตะ)
หลังกลางพุทธศตวรรษที่ 14
น่าสังเกตว่าในการจัดแบ่งรูปแบบศิลปกรรมข้างต้นผู้ศึกษาจ าเป็นจะต้องเข้าใจถึง
ลักษณะรูปภาพหรือความหมายของรูปเคารพต่างๆ อย่างถ่องแท้จึงจะสามารถจัดจ าแนกได้
อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ นั้นเป็นนักวิชาการไทยไม่กี่คนที่พยายาม
เชื่อมโยงข้อมูลหลักฐานทางศิลปกรรมหรือหลักฐานโบราณคดีกับชื่อบ้านเมืองในเอกสารจีน
โบราณ เช่น ดันซุน, พัน-พัน เป็นต้น ซึ่งท าให้แลเห็นความเคลื่อนไหวทางประวัติศาสตร์ของ
ชุมชนโบราณต่างๆ ได้มากกว่าการวิเคราะห์เพียงรูปแบบและอายุสมัยของหลักฐานชิ้นนั้นๆ
55
ไม่เพียงแต่การปรับเปลี่ยนชื่อเรียกยุคสมัยหรือแบบศิลปะในประเทศไทยเท่านั้น
แต่ข้อคิดเห็นของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ หลายประเด็นยังส่งผลกระทบต่อการศึกษาโบราณคดีสมัย
ประวัติศาสตร์ในประเทศไทยด้วย อาทิเช่น มีร่องรอยหลักฐานของการเจริญขึ้นของพุทธศาสนา
นิกายสุขาวดีในสมัยทวารวดี อันเป็นผลมาจากการเจริญรุ่งเรืองของนิกายนี้ในประเทศจีนสมัย
ราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถัง หรือการปรับเปลี่ยนอายุเวลาของสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัยและ
56
สมัยอยุธยา โดยท่านมีความเห็นว่าสิ่งก่อสร้างที่เชื่อว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยหรืออยุธยา
ตอนต้นนั้นน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายเสียมากกว่า เป็นต้น
57
อาจกล่าวได้ว่า ข้อเสนอหรือแนวคิดของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ นั้นมีความน่าสนใจ
เพราะอย่างน้อยที่สุดก็เป็นการจุดประเด็นให้นักวิชาการได้ช่วยกันพินิจพิเคราะห์ข้อมูลหลักฐาน
อย่างถี่ถ้วนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้การท างานของกรมศิลปากรและภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี
(รวมทั้งสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องบางแห่ง) ในช่วงเกือบ 40 ปีที่ผ่านมาก็ได้พยายามน าเอา
19