Page 22 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 22
ทั้งท่านอาจารย์และศาสตราจารย์บวสเซอลิเย่ร์ต่างมีผลงานการศึกษาค้นคว้าด้าน
ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทยและเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้เป็นจ านวนมาก ผลงานของท่านอาจารย์ที่ยังคงเป็นพื้นฐานส าคัญของการศึกษา
41
40
จวบจนถึงปัจจุบันคือหนังสือ “ศิลปะในประเทศไทย” , “ศิลปะสมัยลพบุรี” และ
42
“ประวัติศาสตร์ศิลปะประเทศใกล้เคียง: อินเดีย, ลังกา, ชวา, จาม, ขอม, พม่า, ลาว” ซึ่งใน
หนังสือศิลปะในประเทศไทยซึ่งมีการตีพิมพ์มากกว่า 10 ครั้งแล้วนั้นได้จัดแบ่งยุคสมัยของศิลปะ
43
ในประเทศไทยออกเป็น 2 สมัยกว้างๆ โดยแต่ละสมัยนี้ยังแบ่งออกอีก 5 สมัยย่อย ได้แก่
1) สมัยก่อนที่ชนชาติไทยเข้าปกครอง
- วัตถุรุ่นเก่าที่ค้นพบในประเทศไทย
- ศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 – 16)
- เทวรูปรุ่นเก่า (พุทธศตวรรษที่ 12 – 14)
- ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 – 18)
- ศิลปะลพบุรี ต่อมาทรงใช้ค าว่า ศิลปะขอมในประเทศไทย (พุทธศตวรรษที่ 12
– 18)
2) สมัยที่ชนชาติไทยเข้าปกครองประเทศแล้ว
- ศิลปะเชียงแสนหรือล้านนาไทย (ศักราชยังไม่แน่นอน ราวพุทธศตวรรษที่ 16
หรือ 18 – 23)
- ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 – 20)
- ศิลปะอู่ทอง (พุทธศตวรรษที่ 17 – 20)
- ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20 – 23)
- ศิลปะรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ 24 – 25)
ส่วนผลงานของศาสตราจารย์บวสเซอลิเย่ร์เกี่ยวกับประเทศไทยก็คือ หนังสือ
44
ประติมากรรมในประเทศไทย และบทความต่างๆ เช่น เรื่องการค้นคว้าเมื่อเร็วๆ นี้ ณ เมือง
นครปฐม, เรื่องศิลปะทวารวดี ตอนที่ 1, เรื่องรายงานการส ารวจทางโบราณคดีในประเทศไทย
25 กรกฎาคม – 28 พฤศจิกายน 2507 (บทความทั้งหมดแปลโดยหม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล)
รวมทั้งบทความเรื่องเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จ านวน 2 บทความในหนังสือโบราณวิทยา
เรื่องเมืองอู่ทอง ได้แก่ “เมืองอู่ทองและควำมส ำคัญของเมืองอู่ทองในประวัติศำสตร์
45
46
ไทย” และ “ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับสถำนที่ตั้งของอำณำจักรฟูนัน” ซึ่งท าให้การค้นคว้าเรื่อง
โบราณคดีที่เมืองอู่ทองซึ่งเกี่ยวข้องกับสมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์และสมัยทวารวดีเป็นที่รู้จักกัน
อย่างกว้างขวาง
16