Page 23 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 23
อาจกล่าวได้ว่า การปูพื้นฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีสมัย
ประวัติศาสตร์โดยเฉพาะการวางรากฐานหลักสูตรต่างๆ ภายในคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัย
ศิลปากรของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ท าให้งานค้นคว้าโบราณคดีสมัย
ประวัติศาสตร์ในประเทศไทยมีพื้นฐานจากงานประวัติศาสตร์ศิลปะ คือเน้นการจัดจ าแนก
รูปแบบและการก าหนดอายุสมัยโบราณวัตถุสถานเป็นส าคัญ
ในขณะเดียวกันภาควิชาโบราณคดีก็ได้มีด าเนินการศึกษาขุดค้นแหล่งโบราณคดีต่างๆ
อย่างต่อเนื่อง โดยงานครั้งส าคัญคือ การส ารวจขุดค้นที่เมืองโบราณซับจ าปา อ าเภอท่าหลวง
จังหวัดลพบุรี เมื่อ พ.ศ. 2513 - 2514 (ภาพที่ 6) และการขุดค้นเมืองโบราณบ้านคูเมือง อ าเภอ
อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ในช่วง พ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นการท างานระยะยาวและได้ข้อมูลหลักฐาน
จ านวนมาก นอกจากนี้คณาจารย์ในภาควิชาโบราณคดีก็จัดท างานค้นคว้าวิจัยอย่างสม ่าเสมอ
อาทิเช่น การขุดค้นที่ต าบลพระประโทณ จังหวัดนครปฐม, การขุดค้นที่เมืองหริภุญไชย (ล าพูน),
การขุดค้นที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ ด าเนินการโดย ศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข
อินทราวุธ และคณะ รวมทั้งการศึกษาขุดค้นที่เมืองนครจ าปาศรี (นาดูน) จังหวัดมหาสารคาม
ด าเนินการโดย รองศาสตราจารย์ มยุรี วีระประเสริฐ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ พัชรี สาริกบุตร
โดยการท างานครั้งนั้นยังเป็นการท างานในเชิงสหวิทยาการด้วย เนื่องจากมีการศึกษา
ทั้งทางด้านจารึก, ประวัติศาสตร์ศิลปะ และมานุษยวิทยา ควบคู่กันไป
47
ภาพที่ 6 ศ.นพ.สุด แสงวิเชียร กับชิ้นส่วนจารึกเสาแปดเหลี่ยมสมัยทวารวดี พบที่เมืองซับจ าปา จังหวัดลพบุรี
17