Page 30 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 30

บทที่ 2
                                       โบราณคดีสมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ในประเทศไทย


                              พื้นที่บริเวณประเทศไทยในปัจจุบันมีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ใน

                       ทุกยุคทุกสมัย เพราะมีทั้งเทือกเขาและถ ้า (และล าธาร) อันเหมาะต่อการพักอาศัยของมนุษย์
                       มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในกลุ่มสังคมหาของป่า-ล่าสัตว์ (hunter-gatherer society)

                       มีที่ราบลุ่มแม่น ้าหลายสาขาในทุกภูมิภาคอันเหมาะสมต่อการตั้งชุมชนหมู่บ้านเกษตรกรรม
                       (agriculture village) หรือก่อสร้างบ้านเมืองโบราณที่พึ่งพาการเพาะปลูกข้าวเป็นเศรษฐกิจหลัก

                       นอกจากนี้ยังมีแหล่งแร่ธาตุที่ส าคัญ อาทิเช่น ทองแดงในเขตจังหวัดลพบุรี (บริเวณหุบเขา
                       วงพระจันทร์) และจังหวัดหนองคาย (ที่ภูโล้น อ าเภอสังคม), ตะกั่วในอ าเภอทองผาภูมิ (เหมือง

                       สองท่อ) จังหวัดกาญจนบุรี, แร่ดีบุกในเขตจังหวัดราชบุรีและคาบสมุทรภาคใต้, เกลือสินเธาว์ใน
                       เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสาน เป็นต้น

                              ปัจจัยทางธรรมชาติ (natural factor) ที่ส าคัญอีกประการหนึ่งคือ ประเทศไทยตั้งอยู่
                       ระหว่างทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งนอกจากอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะเป็นแหล่ง

                       ทรัพยากรทางทะเลแล้ว ยังท าให้ดินแดนนี้เป็นจุดแวะพัก (หลบลมมรสุม) ของบรรดาพ่อค้า
                       นักเดินเรือ หรือนักบวชนิกายต่างๆ ส่งผลให้วัฒนธรรมจากนานาประเทศที่มีการติดต่อ

                       แลกเปลี่ยนกันนั้นได้แพร่หลายเข้ามายังชุมชนโบราณในประเทศไทย (จัดเป็นปัจจัยทาง
                       วัฒนธรรม - cultural factor) ด้วยเหตุนี้ปัจจัยทางธรรมชาติจึงมีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของ

                       ประชากรสมัยโบราณและส่งผลต่อพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมในช่วงเวลาต่างๆ อีกด้วย


                       2.1  สรุปพัฒนาการของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายในประเทศไทย
                              ในหัวข้อนี้จะเป็นการสรุปอย่างสั้นๆ ถึงข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของชุมชนสมัยก่อน

                       ประวัติศาสตร์ตอนปลายในประเทศไทย ซึ่งเป็นผลมาจากการศึกษาของนักโบราณคดีหลายท่าน

                       โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานรุ่นบุกเบิกของศาสตราจารย์ ชิน อยู่ดี ผู้ได้รับยกย่องเป็นบิดาแห่งวิชา
                       ก่อนประวัติศาสตร์ไทย และการค้นคว้าอย่างสม ่าเสมอของรองศาสตราจารย์สุรพล นาถะพินธุ
                       ผู้เชี่ยวชาญงานโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และโลหะวิทยาโบราณของประเทศไทย ทั้งนี้

                       รายละเอียดจะปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มส าคัญของทั้ง 2 ท่าน ดังนี้

                              1)  สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย (ศ.ชิน อยู่ดี พ.ศ. 2510)
                              2)  คนก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย (ศ.ชิน อยู่ดี พ.ศ. 2512)
                              3)  ชิน อยู่ดี บิดาแห่งวิชาก่อนประวัติศาสตร์ไทย (ศ.ชิน อยู่ดี พ.ศ. 2529)

                              4)  รากเหง้าบรรพชนคนไทย: พัฒนาการทางวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (รศ.

                                 สุรพล นาถะพินธุ พ.ศ. 2550)






                                                               24
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35