Page 35 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 35
1. ประชากรสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในหลายภูมิภาคคงมีการติดต่อกันหรือมี
ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างกันเป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์กับ
วัฒนธรรมอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
2. ในช่วงยุคโลหะนั้นมีประชากรเพิ่มมากขึ้น และการติดต่อกันยังเป็นไปอย่างเข้มข้น
(กว่าสมัยก่อนหน้า) โดยมีการแลกเปลี่ยนผลผลิตของชุมชน (คือทองแดงหรือ
วัตถุส าริด) กับสินค้ามีค่าที่มาจากต่างถิ่น (คือเครื่องประดับที่ท าจากเปลือกหอย,
หินกึ่งมีค่าและแก้ว)
3. ความต้องการสินค้ามีค่าประเภทเครื่องประดับที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ของคนในชุมชน
นั้นน าไปสู่การติดต่อแลกเปลี่ยนอย่างเข้มข้นยิ่งขึ้นกับพ่อค้าที่เป็นผู้ผลิตหลักคือ
“อินเดีย”
4. ค่านิยมสินค้ามีค่าจากต่างถิ่นนี้แม้จะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่ก็เป็น
ปัจจัยส าคัญที่ก่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างบุคคลขึ้น นั่นคือน าไปสู่ระบบสังคมที่
มีชนชั้นหรือโครงสร้างซับซ้อนนั่นเอง
โดยสรุปแล้วรองศาสตราจารย์สุรพล นาถะพินธุ เน้นย ้าให้เห็นปัจจัยหลัก 2 ประการ
ที่ส่งผลให้ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายเกิดความเปลี่ยนแปลงและจะน าไปสู่การเกิด
สังคมในระดับรัฐในเวลาต่อมา คือ
1. ปัจจัยภายใน (internal factor) คือ การมีประชากรเพิ่มมากขึ้นจึงต้องมีการแบ่งงาน
กันท าอันก่อให้เกิดกลุ่มช่างฝีมือขึ้น รวมทั้งคนในชุมชนเองยังมีความต้องการสินค้า
มีค่าและหายากที่มาจากต่างถิ่น อันน าไปสู่ความแตกต่างด้านสถานภาพหรือชนชั้น
2. ปัจจัยภายนอก (external factor) คือ การแพร่หลายเข้ามาของสินค้ามีค่าจาก
ต่างถิ่นผ่านทางพ่อค้าต่างชาติซึ่งเป็นผู้น าเอาวัฒนธรรมของตนเข้ามาเผยแพร่
โดยวัฒนธรรมที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดต่อชุมชนดั้งเดิมในไทย
(และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ก็คือ “วัฒนธรรมอินเดีย”
2.2 แนวคิดเกี่ยวกับการแพร่หลายของวัฒนธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และสมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
เดิมทีมีนักวิชาการโดยเฉพาะชาวอินเดียให้ความเห็นว่า ดินแดนแถบเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้หรือกลุ่มประเทศอาเซียนในสมัยโบราณเคยเป็นอาณานิคมของชาวอินเดีย แต่การศึกษา
ค้นคว้าทางโบราณคดีอย่างต่อเนื่องก็ท าให้ข้อเสนอนี้ไม่ได้รับการยอมรับกันอีกต่อไปแล้ว ดังจะ
เห็นได้จากหลักฐานและข้อเสนอข้างต้นที่ชี้ให้เห็นถึงบทบาทของชุมชนภายในเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้เองที่มีปฏิสัมพันธ์กับพ่อค้าชาวอินเดีย
29