Page 36 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 36

2.2.1  แนวคิดของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์
                              ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ (George Cœdès) ได้น าเสนอแนวคิดที่น่าสนใจเรื่อง

                       การแพร่หลายของอารยธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ “Indianization” ซึ่งท่าน
                       ให้ความส าคัญกับพวกพ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามาติดต่อกับชนพื้นเมืองเอเชียตะวันออก

                       เฉียงใต้ ก่อนจะตั้งหลักแหล่งลงที่นี่ (เพื่อหลบลมมรสุม) และบางคนก็แต่งงานกับคนท้องถิ่น
                       จนเกิดการเรียนรู้ภาษา ต่อจากนั้นพวกพราหมณ์และภิกษุชาวอินเดียก็คงเดินทางออกมาบ้าง

                                                                                       5
                       และท าให้การเผยแพร่อารยธรรมอินเดียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
                              ทั้งหมดนี้น าไปสู่การจัดการระบบเบียบต่างๆ ภายในชุมชนให้เป็นไปตามแบบอย่างของ

                       วัฒนธรรมอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปกครอง การใช้อักษร-ภาษา และการนับถือศาสนา
                       (พุทธ-พราหมณ์) ศาสตราจารย์เซเดส์ยังระบุด้วยว่า “การเผยแพร่อารยธรรมอินเดียนี้คง

                       เป็นไปอยู่ตลอดระยะเวลาหลายร้อยปี  และสื่อส าคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ชาวเอเชีย
                       อาคเนย์ที่เดินทางเข้าไปค้าขายหรือศึกษายังประเทศอินเดียและกลับเข้ามาอยู่ยัง

                       ประเทศของตน พวกนี้อาจน าวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาเผยแพร่ได้ง่ายกว่าชาวอินเดีย
                       เอง”
                            6
                              ดังนั้นจึงพัฒนาการของชุมชนโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทยก็เป็น
                       ผลมาจากทั้งปัจจัยภายนอก คือ ชาวต่างชาติ (โดยเฉพาะชาวอินเดีย) และปัจจัยภายใน คือ

                       ชนพื้นเมือง (ทั้งสองกรณีนี้พ่อค้าและนักบวชย่อมมีบทบาทอย่างมาก) ที่มีความส าคัญไม่ยิ่ง
                       หย่อนไปกว่ากัน



                              2.2.2  แนวคิดของศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข อินทราวุธ
                              ศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข อินทราวุธ ได้ประมวลและวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดีเพื่อ

                       แสดงให้เห็นภาพรวมของสังคมและวัฒนธรรมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายจนถึงสมัย
                       ทวารวดี โดยใช้ข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีจากในประเทศอินเดียเป็นตัวตั้งแล้วเทียบเคียงกับ

                       หลักฐานที่พบในประเทศไทย ด้วยมีความเชื่อและมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า “....วัฒนธรรม
                       อินเดียที่ช่วยเสริมสร้างวัฒนธรรมทวารวดีที่ส าคัญๆ คือ รูปแบบการตั้งถิ่นฐาน ระบบเหรียญ

                       กษาปณ์ ระบบสื่อสารที่มีการใช้ตราประทับเป็นสื่อกลาง ตัวอักษรและภาษา ระบบการปกครอง
                                                    7
                       เครื่องมือเครื่องใช้บางประเภท....”
                              ท่านยังชี้ให้เห็นถึงความส าคัญของเครือข่ายการค้าของโลกโบราณในช่วง “ราชวงศ์
                       โมริยะ-ศุงคะ” ราวพุทธศตวรรษที่ 3 – 5 ซึ่งอินเดียเปิดเส้นทางการค้าภายในประเทศ และเปิด

                       ประตูการค้ากับโลกตะวันตกด้วย ต่อมาในช่วงยุค “อินโด-โรมัน” (Indo–Roman period) ราว
                       พุทธศตวรรษที่ 5 – 9 ก็ได้เกิดการค้าขายแลกเปลี่ยนระหว่างอินเดียและโรมันอย่างเป็นล ่า

                       เป็นสัน และมีการตั้งถิ่นฐานของชาวโรมันในอินเดียภาคใต้ จึงท าให้พ่อค้าชาวอินเดียและอาจ






                                                               30
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41