Page 39 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 39

2.  ระยะที่ 2 (ราวพุทธศตวรรษที่ 7 – 9)
                                 ในช่วงนี้ยังคงมีสินค้าในระยะแรกแพร่หลายอยู่ แต่ชนพื้นเมืองตามชุมชนโบราณ
                       หลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้ประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ตามแบบวัฒนธรรม

                       อินเดียแล้ว ตัวอย่างเช่น ภาชนะมีพวย (ทั้งกุณฑีและกุณฑิกะหรือหม้อพรมน ้า - kundika)

                       ภาชนะลายประทับด้วยแม่พิมพ์ (stamped and moulded ceramic)
                              โกลฟเวอร์และเบเลนิซมีความเห็นว่า ในระยะแรกนั้นเป็นโบราณวัตถุประเภท “non-
                       Indianized” คือโบราณวัตถุหรือสินค้าที่น าเข้ามาจากประเทศอินเดีย (หรือเมดิเตอร์เรเนียน)

                       ในขณะที่ในระยะที่สองนั้นเป็นโบราณวัตถุที่ชนพื้นเมืองท าขึ้นเลียนแบบวัฒนธรรมอินเดีย

                       (Indianzied artifact) ดังนั้นการแพร่หลายของวัฒนธรรมอินเดีย (ซึ่งเป็นผลมาจากการติดต่อกับ
                       โรมันด้วยนั้น) จึงเป็นขั้นเป็นตอนในสองช่วงเวลาต่อเนื่องกัน


                              2.2.4  แนวคิดของแอนดรูว์ บาร์แรม และเอียน โกลฟเวอร์

                              ในพ.ศ. 2509 ศาสตราจาย์ วิลเลียม วัตสัน (W. Watson) และเฮลมุต ลูฟส์ (H. E.
                       Loofs) ได้เข้ามาขุดค้นที่บ้านท่าม่วง อ าเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี  จ านวน 8 หลุมขุดค้น
                                                                                    12
                       แต่ผู้ขุดค้นรายงานเฉพาะลักษณะชั้นดินและกล่าวถึงโบราณวัตถุที่พบอย่างคร่าวๆ ได้แก่
                       แวดินเผา กระสุนดินเผา เบี้ยดินเผา ขวานหินขัด ลูกปัดแก้ว ใบมีดเหล็ก และห่วงตะกั่ว
                                                                                                        13
                                                                                  14
                       โดยกล่าวอย่างละเอียดพอควรถึงลักษณะของภาชนะดินเผาที่พบ  และให้ความส าคัญเป็น
                       พิเศษกับหม้อมีสันซึ่งพบตั้งแต่ในระดับชั้นดินตอนล่าง เพราะผู้ขุดค้นได้น าไปก าหนดอายุโดย

                       เทียบเคียงกับภาชนะมีสันซึ่งพบที่บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี และบ้านโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี
                       ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่และยุคเหล็กตอนต้นตามล าดับ จึงสันนิษฐานว่าบริเวณ

                       บ้านท่าม่วงอาจมีการอยู่อาศัยของมนุษย์มาแล้วตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 6
                                                                                       15
                              ต่อมาโครงการความร่วมมือระหว่างไทยและอังกฤษได้ขุดค้นที่บ้านท่าม่วงอีกในช่วง

                       พ.ศ. 2512 – 2513 โดยพบโบราณวัตถุที่มีลักษณะคล้ายกับโบราณวัตถุที่เมืองออกแก้วประเทศ
                       เวียดนาม เช่น ชิ้นส่วนเตา หินบด วัตถุดินเผาทรงกลมมีลวดลาย ห่วงโลหะ และพวยกา
                                                                                                        16
                       น่าเสียดายที่ตัวอย่างถ่านจ านวนมากให้ค่าอายุที่ค่อนข้างสับสน แต่เฮลมุต ลูฟส์ก็ได้ก าหนดอายุ
                       ชั้นทับถมว่าอาจมีการอยู่อาศัยมาตั้งแต่ช่วงก่อนสมัยทวารวดี (pre-Dvaravati) ราวพุทธศตวรรษ

                                                                                     17
                       ที่ 8 และมีการอยู่อาศัยสืบเนื่องทั้งยังมีความหนาแน่นขึ้นในสมัยทวารวดี
                              แอนดรูว์ บาร์แรม (Andrew Barram) ได้น าค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ของวัตสันและลูฟส์

                       มาวิเคราะห์ใหม่ เขาพบว่าค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ที่ได้นั้นเมื่อน ามาค านวณใหม่ (re-calibrated
                                                                                        18
                       date) จะอยู่ในช่วงก่อนหน้าสมัยทวารวดี คือราวพุทธศตวรรษที่ 6 – 12  ประเด็นส าคัญที่
                       บาร์แรมน าเสนอในครั้งแรกสุดเมื่อ พ.ศ. 2546 ก็คือ เขาพบว่าเศษภาชนะดินเผาที่ศาสตราจารย์
                       ดร.ผาสุข อินทราวุธ ได้ก าหนดไว้ในหนังสือดรรชนีภาชนะดินเผาสมัยทวารวดีนั้น กลับขุด

                                                                           19
                       ค้นพบมาก่อนแล้วในชั้นวัฒนธรรมช่วงก่อนหน้าสมัยทวารวดี



                                                               33
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44