Page 43 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 43
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย รวมทั้งการเดินทางไปถวายเครื่องบรรณาการแก่องค์
จักรพรรดิจีนของคณะทูตจากประเทศต่างๆ (ซึ่งมีจ านวนมากกว่าในกรณีแรกหลายเท่าตัว)
เอกสารเก่าที่สุดที่กล่าวถึงคณะทูตจีนที่เดินทางผ่านมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อ
ต่อไปยังประเทศอินเดียคือ Ch’ien Han Shu ซึ่งรวบรวมเสร็จเมื่อประมาณ พ.ศ. 623 ระบุว่ามี
คณะทูตสมัยราชวงศ์ฮั่นล่องเรือเลียบชายฝั่งจากเมืองท่าทางตอนเหนือของเวียดนาม (Jih-nan)
ผ่านมายังดินแดนที่ชื่อ Shen-li และ Fu-kan-tu-lu ที่สันนิษฐานว่าอยู่ทางตอนบนของคาบสมุทร
มลายู ก่อนลงเรือต่อไปยัง Huang-chih หรือประเทศอินเดีย (ทางตะวันออกเฉียงใต้) เมื่อไปถึงก็
มีการหาซื้อสินค้า เช่น ไข่มุก แก้วทึบแสง (opaque glass) หินหายาก โดยแลกเปลี่ยนกับ
23
ทองค าและผ้าแพรไหมชั้นดี ซึ่งใน พ.ศ. 545 ก็มีทูตจากอินเดียเดินทางไปยังจีนด้วย
24
ข้อมูลจากเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นข้างต้นมีหลักฐานทางโบราณคดีรองรับ อาทิเช่น
เศษภาชนะดินเผา ชิ้นส่วนคันฉ่องส าริด ตราประทับส าริด คล้ายกับโบราณวัตถุสมัยราชวงศ์ฮั่น
ส่วนใหญ่ค้นพบที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว อ าเภอเมือง จังหวัดชุมพร (ภาพที่ 15)
25
หลักฐานจากเขาสามแก้วยังบ่งชี้ถึงกิจกรรมการผลิตลูกปัดและเครื่องประดับแก้วที่ใช้เทคนิค
26
แบบอินเดีย (ภาพที่ 16) ที่แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง อ าเภอสุขส าราญ จังหวัดระนอง ก็ได้พบ
กิจกรรมการผลิตลูกปัดแก้ว (ภาพที่ 17) และพบเศษภาชนะดินเผามีลายกดด้วยซี่ฟันเฟือง
(rouletted ware) อันเป็นเทคนิคแบบโรมันที่แพร่หลายอยู่ในประเทศอินเดีย (ภาพที่ 18)
27
ภาพที่ 15 เศษภาชนะดินเผาสมัยราชวงศ์ฮั่น
จากแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร
(ที่มา: Bérénice Bellina et al.,
“The Development of Coastal Polities in the
Upper Thai-Malay Peninsula,”
in Before Siam: Essays in Art and Archaeology,
eds. By Nicolas Revire and Stephen A. Murphy
(Bangkok: River Books and The Siam Society,
2014), 77.)
37