Page 47 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 47

อินเดียซึ่งขณะนั้นพ านักอยู่ในฟูนันเดินทางไปจีนโดยขึ้นฝั่งที่เมืองกว่างโจว และเดินทางไปเมือง
                                                                                             34
                       นานกิง ท่านก็ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากจักรพรรดิเหลียงอู่ตี้แห่งราชวงศ์เหลียง
                               นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าอาณาจักรฟูนันมีอาณาบริเวณอยู่ในแถบตอนใต้ของ

                       กัมพูชาและเวียดนาม หรือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น ้าโขง ซึ่งมีชัยภูมิอันเหมาะสมใน

                       น่านน ้าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อมูลที่น่าสนใจคือ มีการค้นพบพระพุทธรูปไม้จากแหล่ง
                       โบราณคดีหลายแห่งทางตอนใต้ของเวียดนาม พระพุทธรูปกลุ่มนี้สลักขึ้นตามรูปแบบของ
                                                                                        35
                       ศิลปะอินเดียสมัยอมราวดีและคุปตะ ก าหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 9 - 12  นอกจากนี้ยังพบ
                       พระพุทธรูปส าริดแบบศิลปะจีนสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 10 ที่จังหวัด

                                                                    37
                                  36
                       Long Xuyên  และจากแหล่งโบราณคดี Go Lat Thi  ของเวียดนาม แม้จะเป็นศิลปวัตถุขนาด
                       เล็กที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ถึงความสัมพันธ์ทางพุทธศาสนาและการค้า
                       ระหว่างฟูนันกับจีนและอินเดียที่ระบุอยู่อย่างชัดเจนในเอกสารจีน
                              อันที่จริงแล้วบทบาทด้านการค้าทางทะเลของอาณาจักรฟูนันเป็นที่ทราบกันดีมาตั้งแต่

                       การศึกษาเรื่องโบราณคดีบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น ้าโขง (L’archêologie du delta du
                       Mêkong) ของหลุยส์ มาเลอเรต์ (Louise Malleret) ที่ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2502 โดยเฉพาะ
                       ความส าคัญในฐานะเมืองท่าค้าขายของเมืองออกแอวหรือออกแก้ว (Oc-èo) ทางตอนใต้ของ

                                                                                              38
                       เวียดนาม เพราะได้พบโบราณวัตถุจ านวนมาก เช่น ลูกปัดหินกึ่งมีค่า ลูกปัดแก้ว  เครื่องทอง
                       เหรียญทองค าของโรมัน 2 เหรียญ ในสมัยจักรพรรดิอันโตนิอุส ปิอุส (Antonius Pius)
                       ผู้ครองราชย์ใน พ.ศ. 681 - 704 และมาร์คัส ออเรเลียส (Marcus Aurelius) ผู้ครองราชย์ใน พ.ศ.
                                       39
                       704 – 723 เป็นต้น  (ภาพที่ 19) การค้นคว้าทางโบราณคดีในช่วง 30 ปีที่ผ่านมานี้ในพื้นที่ตอน
                       ใต้ของกัมพูชาแถบเมืองอังกอร์ บอเร็ย (Angkor Borei) และการขุดค้นทางตอนใต้ของเวียดนาม

                       ก็ท าให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมจ านวนมากที่แสดงให้เห็นว่า พื้นที่แถบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น ้า
                       โขงเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางแห่งอาณาจักรฟูนันที่มีบทบาทส าคัญด้านการค้าทางทะเล
                                                                                                40










                                                    ภาพที่ 19 เหรียญโรมัน
                                 สมัยจักรพรรดิอันโตนิอุส ปิอุส (พ.ศ. 681 – 704)
                       (ที่มา: Louise Malleret, L’archéologie du delta du Mékong
                             (Paris: L’École Française d’Extrême-Orient, 1962):

                                                        Tome III, PL.XL.)




                                                               41
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52