Page 49 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 49
กว่า 1,000 ลี้ เรือส าเภาแล่นตัดผ่านโดยตรงไม่ได้ ตลาดแห่งนี้มีพ่อค้าจาก
ตะวันตกและตะวันออกท าการค้าขายทุกวัน สินค้ามีค่าและหายากไม่ว่าจะ
ชนิดใดก็สามารถหาซื้อได้จากที่นี้ นอกจากนี้ยังมีต้นไม้ที่คล้ายกับต้น
ทับทิม โดยน าน ้าที่คั้นจากดอกของต้นไม้นั้นมาบรรจุในไห 2-3 วันก็จะได้
ไวน์”
43
นักวิชาการส่วนใหญ่สันนิษฐานว่า ตุนซุนน่าจะตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายูโดยเฉพาะ
พื้นที่คอคอดกระ ลอร์เรนซ์ พาลเมอร์ บริกส์ (Lawrence Palmer Briggs) เสนอว่าตุนซุนอาจ
44
ตั้งอยู่แถบเมืองมะริด ทางใต้ของประเทศพม่า และมีขอบเขตถึงลุ่มน ้าแม่กลองตอนล่างหรือที่
45
ราบลุ่มแม่น ้าเจ้าพระยาก็เป็นได้ ส่วนพอล วีทลีย์ (Paul Wheatley) ผู้ศึกษาเอกสารจีนโบราณ
ที่เกี่ยวข้องกับรัฐในคาบสมุทรมลายูเสนอว่า ตุนซุนอาจตั้งอยู่ที่ลุ่มน ้าแม่กลองที่ชุมชนโบราณ
46
พงตึก จังหวัดกาญจนบุรี พิริยะ ไกรฤกษ์ นักประวัติศาสตร์ศิลปะเสนอความเห็นในท านอง
เดียวกันว่า ตุนซุน หรือดันซุน น่าจะเป็นกลุ่มเมืองมอญโบราณใน (ภาคกลางหรือภาคตะวันตก)
47
ประเทศไทย เพราะค าว่าดันซุนเป็นภาษามอญโบราณ แปลว่า ห้าเมือง หรือปัญจนคร
ขณะที่เจฟ เวด (Geoff Wade) นักวิชาการที่ศึกษาเอกสารจีนอีกท่านหนึ่งเสนอว่า
ตุนชุนน่าจะตั้งอยู่แถบจังหวัดสงขลาและปัตตานี และเมื่อไม่นานมานี้ อมรา ศรีสุชาติ
48
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุและศิลปวัตถุของกรมศิลปากร เสนอความเห็นว่า ตุนซุน
(ท่านถ่ายทอดเสียงว่า เตี่ยนซุน หรือตุ้นซวิ่น) น่าจะมีพื้นที่ครอบคลุมส่วนบนของคาบสมุทร
มลายู (ภาคกลางตอนล่าง ต่อกับคาบสมุทรมลายูตอนล่าง (ภาคใต้ตอนบน) คือแถบจังหวัด
49
เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
2.4.3 “พันพัน” เครือข่ายการค้าร่วมสมัยของอาณาจักรฟูนัน
เอกสารจีนสมัยราชวงศ์เหลียงยังกล่าวถึงบ้านเมืองโบราณอีกแห่งหนึ่งชื่อ “พันพัน”
(P’an-p’an) ที่มีความสัมพันธ์ทางใดทางหนึ่งกับอาณาจักรฟูนันไว้ด้วยว่า
“ผู้ครองราชย์ต่อลงมาจากพระเจ้าจันถันชาวอินเดียองค์หนึ่งทรง
นามว่า เจียวเจนชู (Chiao Chen-ju คือ โกณฑินยะ) ท่านผู้นี้เดิมเป็น
พราหมณ์อยู่ในประเทศอินเดีย มีเสียงมาบอกว่าให้ไปครองอาณาจักรฟูนัน
ท่านจึงเดินทางออกมาจนถึงอาณาจักรพันพัน และประชาชนชาวฟูนันก็
เลือกขึ้นเป็นพระราชา พระองค์จึงเปลี่ยนกฎทุกอย่างให้เป็นไปตามแบบ
อินเดีย”
50
43