Page 53 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 53
ภาพที่ 23 ภาพเขียนราชทูตจากลังกาสุกะที่เดินทางเข้าไปยังจีนในสมัยราชวงศ์เหลียง
(ที่มา: Geoff Wade, “Beyond the Southern Borders: Southeast Asia in Chinese Texts
to the Ninth Century,” in Lost Kingdom: Hindu-Buddhist Sculpture of Early Southeast Asia,
ed. by John Guy (Bangkok: River Books, 2014), 29.)
2.5 ชุมชนสมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ในภาคกลางของประเทศไทย
ในหัวข้อที่ผ่านมาได้กล่าวถึงชุมชนโบราณบางแห่งในภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งน่าจะ
เจริญขึ้นในช่วงเวลาร่วมสมัยกับรัฐฟูนัน อาทิเช่น ชุมชนแถบอ าเภอไชยา-พุนพิน จังหวัด
สุราษฎร์ธานี, ควนลูกปัด จังหวัดกระบี่, สทิงพระ จังหวัดสงขลา และยะรัง จังหวัดปัตตานี ดังนั้น
ในหัวข้อนี้จึงขอน าเสนอข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีที่พบจากแหล่งชุมชนโบราณส าคัญๆ ใน
ภาคกลางประเทศไทยที่มีอายุอยู่ในช่วงก่อนหน้า พ.ศ. 1100
2.5.1 เมืองอู่ทอง อ าเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
ย้อนกลับไปยังเอกสารจีนที่ระบุว่า ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 พระเจ้าฟันชิมันแห่งฟูนัน
ทรงท าสงครามปราบปรามอาณาจักรต่างๆ กว่า 10 แห่ง และหนึ่งในนั้นคือ “จินหลิน” (Chin-
69
lin) หรือ “ดินแดนทอง” ซึ่งเป็นเป้าหมายสุดท้าย เอกสารจีนกล่าวว่าจินหลินตั้งอยู่ที่อ่าวใหญ่
ห่างจากฟูนันมาจากตะวันตกประมาณ 2,000 ลี้ เป็นแหล่งแร่เงิน และประชาชนนิยมคล้องช้าง
ป่าเพื่อเอางา ซึ่งพอล วิทลีย์ (Paul Wheatley) เคยเสนอว่า จินหลินอยู่ที่ใดที่หนึ่งบริเวณ
70
71
อ่าวไทยตอนบน แต่แร่เงินนั้นคงน ามาจากรัฐฉานของเมียนมาร์
47