Page 54 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 54

ลอร์เรนซ์ พาลเมอร์ บริกส์ (Lawrence Palmer Briggs) และศาสตราจารย์เซเดส์มี
                       ความเห็นว่าจินหลินอาจตรงกับดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ในบริเวณตอนล่างของประเทศพม่า
                                         72
                       หรือคาบสมุทรมลายู  จนกระทั่ง ใน พ.ศ. 2511 ควอริชต์ เวลซ์ (Quaritch Wales) จึงเสนอข้อ
                                                                                     73
                       สันนิษฐานว่าเมืองอู่ทองคือจินหลิน เพราะที่เมืองนี้มีเพนียดคล้องช้าง  (คือแหล่งโบราณคดี
                       คอกช้างดิน ซึ่งปัจจุบันทราบแล้วว่าคืออ่างเก็บน ้า – ผู้เขียน) และจากการขุดค้นที่อู่ทองของเขา
                       เมื่อ พ.ศ. 2479 ได้พบเศษภาชนะลายเขียนสีแดงเป็นรูปคลื่น 3 เส้นในชั้นดินตอนล่าง ซึ่งอาจ
                                                74
                       เกี่ยวข้องกับอาณาจักรฟูนัน  แต่ทว่า เฮลมุต ลูฟส์  (H. E. Loofs) หนึ่งในคณะขุดค้นที่บ้าน
                       ท่าม่วง (ดูในบทน า) มีความเห็นว่าเมืองอู่ทองไม่น่าจะเป็นสถานที่ตั้งของจินหลิน เพราะในช่วง

                                                                                                   75
                       พุทธศตวรรษที่ 8 ดินแดนแถบนี้ยังอยู่ในช่วงปลายยุคหินใหม่และช่วงต้นยุคเหล็กเท่านั้น
                              ก่อนหน้านั้นคือ ใน พ.ศ. 2509 ศาสตราจารย์ ช็อง บวสเซอลิเย่ร์ เคยเสนอว่าเมือง
                       อู่ทองอาจเป็นราชธานีของอาณาจักรฟูนันในช่วงเวลาหนึ่ง เพราะพื้นที่แถบนี้มีเมืองโบราณ

                       จ านวนมากที่มีแผนผังคล้ายคลึงกันและมีโบราณวัตถุเป็นแบบเดียวกัน ขณะที่บริเวณ

                       สามเหลี่ยมปากแม่น ้าโขงมีร่องรอยของเมืองแบบนี้ไม่มาก และได้รับการศึกษาไปเพียงเมือง
                       เดียวในขณะนั้นคือเมืองออกแก้ว ที่ส าคัญคือ เมืองอู่ทองเป็นสถานที่ที่ค้นพบโบราณวัตถุทาง
                       ศาสนาที่มีความเก่าแก่แหล่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น แผ่นดินเผาภาพพระสงฆ์

                       อุ้มบาตร (ภาพที่ 24) และปูนปั้นภาพพระพุทธรูปนาคปรก (ภาพที่ 25) ซึ่งมีลักษณะของศิลปะ

                       อินเดียแบบอมราวดี และผลิตขึ้นที่อู่ทองเองเพื่อใช้ส าหรับประดับศาสนสถาน นอกจากนี้ก็มีที่
                       ประทับตรามีจารึก เครื่องประดับ ตะเกียงดินเผาแบบโรมันหรืออินเดีย (อานธระหรืออมราวดี)
                       หลักฐานที่กล่าวมาทั้งหมดนี้อาจมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 9 – 10 ในขณะที่หลักฐานส่วน

                                                                        76
                       ใหญ่จากเมืองออกแก้วนั้นเป็นวัตถุที่น าเข้ามาจากต่างถิ่น


























                            ภาพที่ 24 แผ่นดินเผาภาพพระภิกษุสงฆ์อุ้มบาตร จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง






                                                               48
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59