Page 58 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 58
แม้ว่าโบราณวัตถุส่วนใหญ่จากเมืองอู่ทองที่กล่าวถึงข้างต้นจะไม่ได้มาจากการขุดค้นชั้น
ดินทางโบราณคดี แต่การขุดค้นใน พ.ศ. 2541 น าโดย สุรพล นาถะพินธุ แห่งภาควิชาโบราณคดี
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ในพื้นที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ใกล้กับคูเมือง
ด้านทิศตะวันออก พบว่าน่าจะมีการอยู่อาศัยอย่างหนาแน่นเมื่อช่วงราว 1,700 – 1,500
ปีมาแล้ว คือในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9 – 11 และสันนิษฐานด้วยว่าอาจมีการอยู่อาศัยมาก่อนหน้า
87
นั้นแล้ว แต่ก็ไม่ควรเก่าไปกว่า 1,900 ปีมาแล้ว หรือช่วงพุทธศตวรรษที่ 7
ส่วนการขุดค้นในปี 2557 และ 2558 ที่เนินพลับพลาทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง
อู่ทองก็พบว่า ชั้นกิจกรรมระดับล่างในหลุมขุดค้นน่าจะมีอายุอยู่ในช่วงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษ
ที่ 7 ถึงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 11 (ก าหนดอายุด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ – AMS)
ซึ่งร่วมสมัยกับช่วงเวลาที่รัฐฟูนันเจริญรุ่งเรืองอยู่ และไม่เพียงแต่พบชั้นของกิจกรรมี่เกี่ยวข้อง
กับการอยู่อาศัยเท่านั้น แต่ยังได้พบหลุมฝังศพทารก 1 โครงที่ก าหนดอายุอยู่ในช่วงครึ่งหลังของ
88
พุทธศตวรรษที่ 8 ด้วย (ภาพที่ 29)
ภาพที่ 29 ภาพลายเส้นโครงกระดูกทารก พบจากการขุดค้นในเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
52