Page 56 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 56
ภาพที่ 26 ใบเสมาหินทราย สลักภาพพระพุทธรูปนาคปรกปางแสดงธรรม
พบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์
จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
จากการศึกษาแผนผังของโบราณสถาน ณ เมืองอู่ทอง ก็ยังไม่พบรูปแบบที่จะสัมพันธ์
กับแผนผังที่เป็นเอกลักษณ์ของพุทธสถานในสมัยอมราวดีทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ
อินเดีย แผนผังที่โดดเด่นของพุทธสถานสมัยอมราวดีคือ สถูปทรงกลม มีมุขยื่นออกมา 4 ด้าน
และมีก าแพงวงกลมล้อมรอบ รวมทั้งอาคารในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีห้องเล็กๆ แบ่งเพื่อใช้เป็นที่
อยู่ของพระสงฆ์ แต่แผนผังของสถูปและอาคารเช่นนี้กลับค้นพบแล้ว ที่เมืองเบกถาโน
80
(Beikthano) หรือไบก์ถาโนซึ่งเป็นเมืองวัฒนธรรมปยู (Pyu) ในประเทศเมียนมา จากการ
ขุดค้นที่เมืองเบกถาโนยังพบหลักฐานของการอยู่อาศัยและการติดต่อกับอินเดียตั้งแต่ราว
81
พุทธศตวรรษที่ 3 – 7 อีกด้วย
นอกจากนี้ถ้าหากยึดถือข้อมูลใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับร่องรอยของสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนา
ที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ค้นพบแล้วในปัจจุบัน ก็คือโบราณสถานที่สุไหง บาตู
(Sungai Batu) แถบบูจัง วัลเลย์ (Bujang Valley) รัฐเกดะห์ (Kedah) ทางตะวันตกเฉียงเหนือ
82
ของประเทศมาเลเซีย ที่อาจมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 6 – 7 (ภาพที่ 27) ดังนั้นข้อมูล
จากเมืองในวัฒนธรรมปยูและข้อมูลใหม่ล่าสุดจากประเทศมาเลเซียจึงแสดงให้เห็นถึง
การยอมรับนับถือพุทธศาสนาที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
50