Page 59 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 59
2.5.2 เมืองโบราณนครปฐม อ าเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
การขุดค้นทางโบราณคดี ณ เมืองนครปฐมของผู้เขียนเมื่อ พ.ศ. 2552 – 2553 ยังไม่พบ
หลักฐานชัดเจนหรือมีปริมาณมากนักเมื่อเทียบกับเมืองอู่ทองที่จะน ามาตีความเกี่ยวกับบทบาท
ของชุมชนที่เมืองนครปฐมในช่วงสมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ (หรือช่วงก่อนหน้าสมัยทวารวดี)
การขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีหอเอก ต าบลพระประโทณ อ าเภอเมืองนครปฐม พบชั้น
กิจกรรมที่ก าหนดอายุอย่างกว้างๆ จากการเปรียบเทียบรูปแบบของโบราณวัตถุและค่าอายุจาก
วิธีเทอร์โมลูมิเนสเซนต์ (จากตัวอย่างเศษภาชนะดินเผาและก้อนดินเผาไฟ) ว่ามีอายุอยู่ในช่วง
พุทธศตวรรษที่ 8 – 11 โดยโบราณวัตถุชิ้นส าคัญในระยะนี้คือ เศษภาชนะดินเผาเพียง 1 ชิ้นที่มี
ลายเขียนสีคล้ายรูปดวงอาทิตย์ คล้ายกับลายเขียนสีที่ปรากฏบนกุณฑีจากเมืองอังกอร์ บอเรย
(หรือนครบุรี) ในจังหวัดตาแก้ว (Ta Keo) ทางใต้ของประเทศกัมพูชา และแหล่งโบราณคดี
ภูมิสนาย (Phum Snay) ในจังหวัดบันเตีย เมียนเจย (Banteay Meanchey) ทางตะวันตกเฉียง
เหนือของประเทศกัมพูชา ซึ่งก าหนดอายุแหล่งภูมิสนายด้วยวิธีเรดิโอคาร์บอน (Radiocarbon)
89
อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 – 11 (ภาพที่ 30)
ภาพที่ 30 เศษภาชนะลายเขียนสีคล้ายดวงอาทิตย์จากเมืองนครปฐม, เมืองนครบุรี และแหล่งภูมิสนาย
ผู้เขียนแปลความว่าหลักฐานชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึงเครือข่ายการติดต่อสัมพันธ์ระหว่าง
ชุมชนโบราณที่เมืองนครปฐมกับแหล่งโบราณคดีทั้งสองแห่งในประเทศกัมพูชาซึ่งปรากฏ
90
หลักฐานการติดต่อกับวัฒนธรรมอินเดียแล้ว (กุณฑีคือภาชนะแบบวัฒนธรรมอินเดีย)
แต่หลักฐานที่พบจากเมืองนครปฐมในขณะนี้ก็มีปริมาณและความส าคัญน้อยกว่าหลักฐานที่
ส ารวจและขุดค้นพบจากเมืองอู่ทอง (อาจเพราะมีการขุดค้นที่เมืองนครปฐมเพียงไม่กี่ครั้ง)
53