Page 55 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 55

ภาพที่ 25 ภาพปูนปั้นพระพุทธรูปนาคปรก จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง


                              อย่างไรก็ตาม โบราณวัตถุส่วนใหญ่จากเมืองอู่ทองที่กล่าวถึงข้างต้นไม่ได้มาจากการ
                       ขุดค้นชั้นดินทางโบราณคดี โบราณวัตถุชิ้นส าคัญที่สุดคือแผ่นดินเผาภาพพระสงฆ์อุ้มบาตร

                       และปูนปั้นภาพพระพุทธรูปนาคปรกก็มีที่มาไม่ชัดเจน เพราะตามรายงานของศาสตราจารย์
                                                                                                 77
                       บวสเซอลิเย่ร์ระบุว่าพบแผ่นดินเผาภาพพระสงฆ์อุ้มบาตรที่เจดีย์หมายเลข 2  ซึ่งเป็น
                       โบราณสถานตั้งอยู่ริมคูเมืองอู่ทองที่ขุดพบชิ้นส่วนศิลาธรรมจักร กวางหมอบ และพระพิมพ์
                       ดินเผาสมัยทวารวดี

                              ส่วนปูนปั้นภาพพระพุทธรูปนาคปรกนั้นก็ไม่ทราบที่มาแน่ชัดและยังก าหนดอายุได้
                       ยากยิ่ง เพราะรูปแบบท่านั่งขัดสมาธิราบหลวมๆ ข้อพระบาทไขว้กันเช่นนี้แม้ว่าจะเป็นลักษณะ

                       ของศิลปะอินเดียสมัยอมราวดีอย่างแท้จริง แต่พระพุทธรูปศิลปะสมัยทวารวดีองค์อื่นๆ ก็ยังคง
                       ประทับนั่งเช่นนี้ ดังตัวอย่างที่น่าสนใจ 2 ชิ้นคือ ประติมากรรมพระพุทธรูปนาคปรก สลักจาก

                       ศิลาทราย พบที่เมืองฝ้าย จังหวัดบุรีรัมย์ ก าหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12  และภาพสลัก
                                                                                           78
                       พระพุทธรูปนาคปรกบนใบเสมาจากเมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ ก าหนดอายุราว

                       พุทธศตวรรษที่ 13 - 14  (ภาพที่ 26)
                                           79




















                                                               49
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60