Page 61 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 61

ชุมชนโบราณที่พงตึกนี้ตั้งอยู่ริมแม่น ้าแม่กลอง ห่างจากเมืองนครปฐมไปทางตะวันตก
                       เฉียงเหนือเพียง 30 กิโลเมตร ห่างจากเมืองอู่ทองที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ
                       50 กิโลเมตร และห่างจากเมืองโบราณคูบัวในเขตอ าเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ที่ตั้งอยู่ทาง

                       ตะวันออกเฉียงใต้เป็นระยะทางราว 45 กิโลเมตร ส่วนทางตะวันตกของแหล่งโบราณคดีก็เป็น

                       เขตภูเขาและต้นน ้าแม่กลองอันเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ พงตึกจึงมีลักษณะเป็นชุมทางที่
                       สามารถติดต่อกับชุมชนอื่นๆ ได้อย่างสะดวก ทั้งนี้พอล วีทลีย์ (Paul Wheatley) ผู้ศึกษาเอกสาร
                       จีนที่เกี่ยวข้องกับรัฐในคาบสมุทรมลายูเสนอว่า พงตึกอาจตรงกับรัฐโบราณที่ชื่อตุนซุนหรือ

                       เตียนซุนก็เป็นได้ (ดูในหัวข้อ 2.4.2) อย่างไรก็ตามยังไม่มีผลการขุดค้นชั้นดินหรือชั้นวัฒนธรรม

                       ที่พงตึกซึ่งจะยืนยันว่าชุมชนนี้มีร่องรอยกิจกรรมการอยู่อาศัยมาแล้วตั้งแต่สมัยหัวเลี้ยว
                                   93
                       ประวัติศาสตร์

                              2.5.4  เมืองโบราณจันเสน อ าเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

                              ส าหรับเมืองจันเสนซึ่งเป็นเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี ได้รับการศึกษาขุดค้นโดย

                       ดร.เบนเน็ท บรอนสัน (Bennet Bronson) ท่านได้ท าการวิเคราะห์ภาชนะดินเผาที่พบอย่าง
                       ละเอียด โดยประมวลเข้ากับผลการก าหนดอายุด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีจ านวนมาก
                       เพื่อจัดล าดับพัฒนาการของเมือง ท่านเสนอไว้ในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก เมื่อ พ.ศ. 2519

                       ซึ่งสามารถจัดล าดับอายุสมัยของเมืองจันเสนได้เป็น 6 สมัยย่อย ตั้งแต่ช่วงก่อนประวัติศาสตร์
                       ยุคเหล็ก ช่วงที่มีการติดต่อกับอินเดีย ยุคฟูนัน สมัยทวารวดี และการอยู่อาศัยในระยะหลัง
                                                                                                        94
                       โดยหลักฐานส าคัญที่แสดงให้เห็นการติดต่อกับวัฒนธรรมอินเดียคือ หวีงาช้าง สลักลวดลาย
                                                                                  95
                       มงคลต่างๆ คล้ายศิลปะอินเดีย ก าหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 7 - 8  (ภาพที่ 32)














                                          ภาพที่ 32 ภาพลายเส้นหวีงาช้าง
                                   ขุดพบจากเมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์

                               จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร




                                                               55
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66