Page 45 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 45
ภาพที่ 18 เศษภาชนะดินเผามีลายกดด้วยซี่ฟันเฟือง พบที่แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง จังหวัดระนอง
(ที่มา: ร้อยเอกบุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ)
เศษภาชนะดินเผามีลายกดด้วยซี่ฟันเฟืองนี้ยังได้ค้นพบที่แหล่งโบราณคดีเซมบิราน
28
(Sembiran) บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย แหล่งโบราณคดีโกคาม (Go Cam) ในจังหวัด
29
กว่างนัมทางตอนกลางของประเทศเวียดนาม ที่แหล่งโกคามรวมทั้งแหล่งตราเกียว (Tra Kieu)
และแหล่งล่ายงี (Lai Nghi) ในจังหวัดกว่างนัมเช่นกันยังได้ขุดค้นพบโบราณวัตถุแบบจีนสมัย
ราชวงศ์ฮั่นหลายประเภท เช่น เศษภาชนะดินเผา ชิ้นส่วนกระเบื้องมุงหลังคา ตราประทับดิน
เผา ภาชนะส าริด คันฉ่องส าริด เครื่องมือหรืออาวุธส าริด และเหล็ก เป็นต้น
30
ดังนั้นเครือข่ายการติดต่อสัมพันธ์หรือการค้าขายระหว่างประเทศซึ่งเชื่อมโยงน่านน ้า
อ่าวเบงกอลและทะเลจีนใต้ ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 5 – 8 จึงเกิดขึ้นภายใต้แรงขับเคลื่อน
หลักจากราชวงศ์ฮั่น ชาวอินเดีย รวมถึงประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอง
2.4 รัฐโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ในสมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ของไทย)
ในหัวข้อนี้จะเป็นการกล่าวถึงรัฐโบราณในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเอกสารจีน
ได้บรรยายรายละเอียดต่างๆ เอาไว้ รัฐเหล่านี้เจริญขึ้นในช่วงก่อน พ.ศ. 1100 คือก่อนหน้าสมัย
ทวารวดี
2.4.1 “ฟูนัน” รัฐการค้าทางทะเลระยะแรกเริ่มในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“ฟูนัน” หรือ “ฝูหนาน” เป็นอาณาจักรโบราณระยะแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จีน
บันทึกเรื่องราวเอาไว้ โดยมีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 – 11 คาบเกี่ยวกับช่วง
ปลายสมัยราชวงศ์ฮั่น ต่อเนื่องมาในสมัยสามก๊กและสมัยราชวงศ์ทางภาคใต้ อาณาจักรฟูนัน
39