Page 41 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 41

ภาพที่ 14 พระวิษณุ (พระนารายณ์) สูง 67 เซนติเมตร
                                                    พบที่อ าเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
                                                         อายุราวพุทธศตวรรษที่ 9 – 10

                                            จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
                                            (ที่มา: พิริยะ ไกรฤกษ์, รากเหง้าแห่งศิลปะไทย,
                                          พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: ริเวอร์บุ๊คส์, 2555), 100.)



                              ม็องแก็งมีความเห็นว่า การติดต่อทางศาสนาข้างต้นนั้นมีพื้นฐานมาจากความสัมพันธ์
                       ทางการค้าที่มีมาก่อนแล้วของประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอง ก่อนที่จะมีการติดต่อกับ
                       ชาวอินเดีย (พ่อค้า, นักเดินเรือ, นักบวช และช่างศิลปิน) ที่น าเอาวัฒนธรรมแบบอินเดียเข้ามา

                       เผยแพร่ยังภูมิภาคนี้ การเดินทางติดต่อกันทั้งไปและกลับที่เกิดขึ้นอย่างสม ่าเสมอไม่ได้น าเพียง

                       วัฒนธรรมอินเดียมาเท่านั้น แต่ยังน าพาเอาสินค้า (คือวัตถุ) และเทคโนโลยีหรือความรู้แบบ
                       อินเดียเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย สิ่งที่ปรากฏชัดคือ การใช้ตัวอักษร-ภาษา และการ
                       นับถือศาสนาแบบอินเดีย

                              ดังนั้นทั้งพุทธศาสนาและไวษณพนิกายจึงมีส่วนอย่างมากต่อการเผยแพร่วัฒนธรรม

                       อินเดียควบคู่ไปกับการค้าขายแลกเปลี่ยน เพราะพุทธศาสนาและไวษณพนิกาย (ลัทธิภักติ) นั้น
                       ก็ไม่ได้กีดกั้นเรื่องชนชั้นหรือวรรณะ พ่อค้าอินเดียที่นับถือทั้งสองนิกายนี้จึงสามารถเดินทาง
                       ออกมาค้าขายยังต่างแดนได้ แต่นิกายหลังนั้นได้พัฒนาจนกลายเป็นศาสนาระดับรัฐ (เช่นใน

                       กรณีของรัฐตารุมาทางตะวันตกของเกาะชวาและรัฐฟูนันทางใต้ของกัมพูชาและเวียดนาม)

                       เพราะไวษณพนิกายสามารถสนับสนุนให้ชนชั้นสูง (ผู้น าชุมชนท้องถิ่น) กลายเป็นกษัตริย์
                       ผู้มีอ านาจอันชอบธรรมในการดูแลพลเมืองและระบบเศรษฐกิจของรัฐที่เริ่มขยายใหญ่ขึ้น

                       ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 - 12 ในขณะที่การนับถือไศวนิกาย (บูชาพระศิวะหรืออิศวร)
                       กลับปรากฏในระยะต่อมาคือราวพุทธศตวรรษที่ 12 และกลายเป็นศาสนาของราชส านักในช่วง

                       พุทธศตวรรษที่ 13 เท่านั้น




                                                               35
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46