Page 42 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 42
2.2.6 แนวคิดของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง
เมื่อไม่นานมานี้ผู้เขียนได้น าเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจการค้าของรัฐทวารวดี
ที่จะเติบโตขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 โดยมีความเห็นว่าการก่อตัวของรัฐทวารวดีนั้นอันที่
จริงแล้วเป็นผลมาจากการติดต่อค้าขายกันอย่างเป็นล ่าเป็นสันของประเทศต่างๆ ในช่วง
ก่อนหน้า โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดเส้นทางสายไหมทางทะเล (maritime silk road) แม้ว่าจะไม่
สามารถปฏิเสธได้ถึงบทบาทของวัฒนธรรมอินเดียและแนวคิด Indianization แต่แรง
ขับเคลื่อนหลักอีกประการหนึ่งนั้นคงมาจากการขยายตัวทางการเมืองและเศรษฐกิจของ
22
ประเทศจีนนับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ตั้งแต่ช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 5
ราชวงศ์ฮั่นและราชวงศ์ต่อมาๆ ของจีนนั้นพยายามขยายอ านาจลงมาควบคุมพื้นที่ตอน
เหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณอ่าวตังเกี๋ยประเทศเวียดนามในปัจจุบัน นอกจาก
ยึดครองอยู่เป็นระยะๆ แล้วยังได้สร้างเมืองท่าค้าขายขึ้นเพื่อควบคุมการค้าทางทะเลด้วย
ทั้งเมืองกว่างโจว (กวางตุ้ง) และเมืองฮานอย สินค้าที่จีนต้องการนั้นเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยจาก
นานาประเทศ (เครื่องหอม เครื่องเทศ ของป่า อัญมณี ฯลฯ) ดังนั้นปริมาณการค้าระหว่างจีนกับ
ประเทศต่างๆ (ที่ขึ้นอยู่กับนโยบายในแต่ละราชวงศ์) จึงส่งผลต่อการเติบโตของชุมชนในเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งอยู่ระหว่างทางจากอินเดียไปจีน (หรือในทางกลับกัน) นั่นเอง
ไม่เพียงแต่การติดต่อค้าขายสินค้าฟุ่มเฟือยเท่านั้น แต่พุทธศาสนาก็มีส่วนส าคัญอย่าง
มากในเส้นทางการค้านี้ เพราะจีนนั้นเริ่มนับถือพระพุทธศาสนา มีการขยายตัวของชุมชนชาว
พุทธในหลายพื้นที่ของประเทศจีน ราชส านักจีนในบางราชวงศ์ (โดยเฉพาะราชวงศ์เหลียง)
ก็สนับสนุนพุทธศาสนา จึงมีการสั่งสิ่งของเครื่องใช้ทางพุทธศาสนาไปจากประเทศแม่คืออินเดีย
ขณะเดียวกันก็อัญเชิญพระภิกษุหรือนักปราชญ์ทางพุทธศาสนาจากอินเดียให้เข้าเดินทางเข้าไป
เผยแผ่พระธรรมค าสอน ณ ประเทศจีนอีกด้วย การเดินทางของภิกษุอินเดียนั้นก็ต้องพึ่งพา
อาศัยพ่อค้านักเดินเรือและจ าต้องแวะพักตามเมืองท่าหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ดังนั้นพุทธศาสนาจึงได้แพร่หลายอยู่ในดินแดนแถบนี้ด้วย (ดังได้พบจารึกและงานศิลปกรรม
อันสอดคล้องกับแนวคิดของปิแอร์ ม็องแก็ง ที่กล่าวแล้วข้างต้น)
ดังนั้นในการศึกษาเรื่องการแพร่หลายของวัฒนธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และเรื่องสมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ในประเทศไทย จึงจ าเป็นจะต้องเข้าใจบริบทด้านการค้าและ
ศาสนาที่เกิดขึ้นบนเส้นทางสายไหมทางทะเลในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5 - 11 ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง
กับนานาประเทศ ทั้งอินเดีย (และศรีลังกา) จีน ตะวันออกกลาง (เปอร์เซีย) และโรมัน
2.3 หลักฐานการติดต่อค้าขายในระยะแรกเริ่มบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
ความส าคัญของเส้นทางสายไหมทางทะเลมีข้อมูลปรากฏอยู่ในเอกสารของจีนในสมัย
ราชวงศ์ต่างๆ ซึ่งกล่าวถึงการเดินทางของคณะทูตจากจีนไปติดต่อสัมพันธ์กับบางประเทศใน
36