Page 46 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 46

เป็นบ้านเมืองแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จีนส่งคณะทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในช่วง
                       พ.ศ. 788 - 793 โดยราชทูตคังไถและจูยิงแห่งง่อก๊ก (หรือก๊กอู๋ – Wu State) ที่ปกครองโดย
                       พระเจ้าซุนกวน (ราว พ.ศ. 765 – 795) ได้บันทึกรายละเอียดของฟูนันไว้ (บันทึกดั้งเดิมชื่อ Fu

                       Nan chi สูญหายไปแล้ว แต่มีการอ้างถึงอยู่ในเอกสารสมัยหลัง) ดังนี้


                                         “พระราชาองค์แรกของอาณาจักรฟูนันเป็นชาวอินเดีย ทรงพระ

                                นามว่า ฮุนเถียน คือ โกณฑินยะ ท่านผู้นี้ได้มาจากประเทศอินเดียหรือ
                                แหลมมลายูหรือหมู่เกาะอินโดนีเซีย โดยฝันไปว่าเทวดาประจ าตระกูลได้

                                มอบศรให้และสั่งให้ลงเรือไป ครั้นตอนเช้าโกณฑินยะได้พบศรวางอยู่ที่โคน
                                ต้นไม้ในเทวาลัย จึงได้ลงเรือมาจนถึงอาณาจักรฟูนัน นางพญาแห่ง

                                อาณาจักรนั้นทรงนามว่า ลิวเย หรือนางใบมะพร้าวก็ต้องการที่จะ
                                ปล้นสะดมและยึดเรือล านั้น โกณฑินยะจึงแผลงศรไปทะลุเรือนางลิวเย

                                นางก็ตกใจกลัวจึงยอมอ่อนน้อมเป็นภรรยาของโกณฑินยะ ขณะนั้นนาง
                                มิได้สวมเสื้อผ้า โกณฑินยะจึงพับผ้าเข้าและสวมลงไปบนศีรษะของนาง

                                                                                     31
                                ต่อจากนั้นเขาก็ขึ้นปกครองประเทศและสืบเชื้อพระวงศ์ต่อมา”

                              ราชทูตคังไถและจูยิงยังได้พรรณนาเกี่ยวกับอาณาจักรฟูนันไว้อีกว่า

                                         “ท าการเพาะปลูกโดยหว่านพืชปีหนึ่งและเกี่ยวพืชผลไป 3 ปี
                                ชอบสลักเครื่องประดับและท าการแกะสลัก ภาชนะที่ใช้รับประทานอาหาร

                                มักท าด้วยเงิน ภาษีที่เก็บเป็นทอง เงิน ไข่มุก และเครื่องหอม มีหนังสือ
                                หอจดหมายเหตุ และอื่นๆ ตัวอักษรที่ใช้คล้ายกับตัวอักษรของชนชาติฮู

                                                                                       32
                                (ประชาชนในภาคกลางของเอเชียที่ใช้ตัวอักษรตามแบบอินเดีย)”

                              จดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศ์ฉีใต้ ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 11 กล่าวถึงพระเจ้า
                       ชัยวรมันแห่งอาณาจักรฟูนันได้ทรงส่งคณะพ่อค้าไปยังเมืองกวางตุ้ง แต่ขากลับเรือแตกจนต้อง

                       ไปขึ้นบกที่ประเทศจามปา พร้อมกับภิกษุชาวอินเดียชื่อนาคเสน ซึ่งท่านเดินทางต่อไปยังฟูนัน
                       ต่อมาพระราชาฟูนันก็ทรงส่งพระนาคเสนให้ไปถวายบรรณาการแด่พระจักรพรรดิจีน และใน

                       สมัยนี้ก็มีภิกษุฟูนัน 2 รูปชื่อ สังฆปาละและมันทรเสน ได้เดินทางเข้าไปอาศัยยังประเทศจีน
                                                                                33
                       ท่านทั้งสองนี้รู้จักภาษาสันสกฤตดีจนแปลคัมภีร์ทางพุทธศาสนาได้
                              ในช่วงเวลานั้นพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอยู่ในฟูนัน ราชทูตจีนได้เข้ามายังฟูนันระหว่าง
                       พ.ศ. 1078 – 1088 เพื่อขอให้พระราชารวบรวมคัมภีร์พุทธศาสนาประทานให้ พร้อมทั้งส่ง

                       พระภิกษุไปจีน จน พ.ศ. 1089 พระเจ้ารุทรวรมันจึงได้ทรงส่งพระปรมารถชาวเมืองอุชเชนีใน








                                                               40
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51