Page 37 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 37
รวมถึงชาวโรมันเดินเรือเลียบชายฝั่งมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท าให้พบโบราณวัตถุตาม
อย่างวัฒนธรรมอินเดียและโรมันหลากหลายประเภทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งลูกปัดหิน
ลูกปัดแก้ว ภาชนะส าริด ลูกเต๋า ตะเกียง หัวแหวนสลักจากหินมีค่า (intaglio) เหรียญกษาปณ์
8
อินเดีย รวมทั้งเหรียญกษาปณ์และภาชนะดินเผาแบบโรมัน
ศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข อินทราวุธ ยังได้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการของชุมชน
โบราณในดินแดนไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 1 ชุมชนเหล่านี้
9
มีการติดต่อกันเองอยู่แล้ว ดังได้พบกลองมโหระทึกในวัฒนธรรมด่งเซินและต่างหูแบบลิงลิง-โอ
“ดังนั้นเมื่อพ่อค้าชาวอินเดียเริ่มเป ิ ดประตูการค้ากับ
ประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ราวพุทธศตวรรษที่ 3)
ก็คงใช้เส้นทางเดิมที่ชาวพื้นเมืองเคยใช้อยู่ก่อนแล้ว ท าให้การ
ติดต่อค้าขายระหว่างชาวอินเดียและประชากรในเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้เป็นไปอย่างสะดวกและปลอดภัย ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้พ่อค้า
และนักบวชทั้งในศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาติดตามกันเข้า
มาตั้งถิ่นฐานและตั้งนิคมการค้าตามเมืองท่าหรือศูนย์กลางการค้า
โบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และน าเอาวัฒนธรรมประเพณีที่
เคยถือปฏิบัติในประเทศตนมาเผยแพร่ให้ชนพื้นเมืองจนเกิดความ
10
เลื่อมใสศรัทธา จึงเริ่มมีการจัดระเบียบสังคมแบบสังคมอินเดีย”
อาจกล่าวได้ว่า ข้อเสนอของศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข อินทราวุธ ข้างต้นมีความ
สอดคล้องกับแนวคิดเรื่อง การแพร่หลายของอารยธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของ
ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ นั่นเอง
2.2.3 แนวคิดของเอียน โกลฟเวอร์ และเบเลนิซ เบเลน่า
เอียน โกลฟเวอร์ (Ian Glover) นักโบราณคดีชาวอังกฤษผู้เข้ามาท าการขุดค้นที่แหล่ง
โบราณคดีบ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2527 – 2528 และเบเลนิซ เบเลน่า
(Bérénice Bellina) นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสผู้เป็นหัวหน้าโครงการส ารวจและขุดค้นที่
เขาสามแก้ว อ าเภอเมือง จังหวัดชุมพรในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ได้น าเสนอแนวคิดเรื่องการ
ติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับประเทศอินเดียและ
ประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในราวช่วงต้นพุทธกาลจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 9 ไว้
11
โดยทั้งสองท่านได้แบ่งช่วงเวลาในการติดต่อสัมพันธ์ออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
31