Page 40 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 40

ข้อสังเกตดังกล่าวนี้ทั้งบาร์แรม และเอียน โกลฟเวอร์ ได้น ามาขยายผลอย่างต่อเนื่อง
                       โดยได้ข้อสรุปว่า บริเวณบ้านท่าม่วงมีการอยู่อาศัยมาแล้วตั้งแต่ช่วงหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์
                       (Proto-historic period) ซึ่งทั้ง 2 ท่านเสนอให้ก าหนดค านิยามใหม่ที่เหมาะสมกว่าว่า “ทวารวดี

                       ตอนต้นหรือช่วงก่อนทวารวดี” (Early or Proto-Dvaravati) แทนค าว่าสมัยหัวเลี้ยวหรือ

                       กึ่งก่อนประวัติศาสตร์ที่นักโบราณคดีไทยนิยมใช้ เนื่องจากโบราณวัตถุที่พบในช่วงเวลานี้ยังมี
                       ความสืบเนื่องมาในชั้นวัฒนธรรมสมัยทวารวดีด้วย และการขุดค้นตามชุมชนโบราณหลายแห่ง

                       ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้พบหลักฐานของการติดต่อกับวัฒนธรรมอินเดียที่มีอายุเก่าแก่
                                                                  20
                       ก่อนช่วงเวลาที่ก าหนดเป็นสมัยทวารวดีแล้วทั้งนั้น

                              2.2.5  แนวคิดของป ิ แอร์ อีฟ ม็องแก็ง

                              ปิแอร์ อีฟ ม็องแก็ง (Pierre-Yves Manguin) นักวิชาการชาวฝรั่งเศสผู้เคยควบคุมการ
                       ส ารวจและขุดค้นทางตอนใต้ของเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซียเพื่อค้นหาร่องรอยของ

                       ศรีวิชัย ได้น าเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการแพร่หลายของวัฒนธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออก
                       เฉียงใต้ไว้อย่างน่าสนใจเมื่อ พ.ศ. 2553 โดยพิจารณาจากหลักฐานประเภทจารึกและงาน

                       ศิลปกรรม เขามีความเห็นว่า ทั้งพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย (บูชา
                       พระวิษณุหรือพระนารายณ์) มีบทบาทส าคัญต่อการเผยแพร่วัฒนธรรมจากอินเดียมายัง

                                              21
                       เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                              หลักฐานที่เนื่องในพุทธศาสนาระยะแรกนั้นคือ จารึกคาถาต่างๆ (เช่นคาถาเย ธมฺมาฯ
                       ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจารึกภาษาสันสกฤต) ที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 – 12 รวมทั้งยังได้

                       พบประติมากรรมพระพุทธรูปรุ่นเก่าในศิลปะคุปตะ-หลังคุปตะและศิลปะอมราวดี หรือ
                       ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรและพระพิมพ์ดินเผาซึ่งค้นพบทั่วภูมิภาค ส่วนหลักฐาน

                       ของไวษณพนิกายซึ่งไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึงบทบาทมาก่อนนั้นก็มีอายุอยู่ในช่วงเวลา
                       ใกล้เคียงกัน คือกลุ่มประติมากรรมพระวิษณุรุ่นเก่า (ภาพที่ 14) รวมถึงจารึกที่สรรเสริญบูชา

                       พระวิษณุ เช่น จารึกของพระเจ้าปูรณวรมันทางตะวันตกของเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย
                       หรือจารึกของพระเจ้าคุณวรมันพบทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม จารึกแบบหลังนี้แตกต่าง

                       จากคาถาทางพุทธศาสนาเพราะแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวเนื่องกับสถาบันกษัตริย์















                                                               34
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45