Page 33 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 33
ภาพที่ 10 ก้อนวัตถุดิบทองแดง
พบที่แหล่งโบราณคดีแถบหุบเขาวงพระจันทร์ และบ้านโป่งมะนาว (ภาพขวาสุด) จังหวัดลพบุรี
(ที่มา: รองศาสตราจารย์ สุรพล นาถะพินธุ)
โบราณวัตถุที่กล่าวมานี้จัดเป็น “โบราณวัตถุประเภทเด่นที่บ่งบอกอายุสมัยหรือ
วัฒนธรรมได้” หรือ “diagnostic artifact” อันแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ของกลุ่มชนต่างๆ ในประเทศไทยในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ทั้งยังแสดงให้เห็นถึง
พัฒนาการทางสังคมในช่วงเวลานั้นที่เกิด “กลุ่มช่างฝีมือ” (craft specialized) ขึ้นแล้ว ภายใต้
สังคมหมู่บ้านที่มีการแบ่งงานกันท าอย่างชัดเจน และได้เกิดสถานภาพของคนในชุมชนขึ้นแล้ว
โดยพิจารณาจากจ านวนของอุทิศในหลุมฝังศพที่มีความแตกต่างกัน
นอกจากนี้ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายชุมชนโบราณในประเทศไทยก็มีการ
ติดต่อแลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวาง ทั้งการติดต่อกันเองภายในและการติดต่อกับชุมชน
ภายนอก ดังจะเห็นได้จากการค้นพบวัตถุที่มาจากต่างถิ่นที่ไกลออกไป ได้แก่ ลูกปัดหินกึ่งมีค่า
(semi-precious stone bead) ลูกปัดแก้ว (glass bead) ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตในประเทศอินเดีย
1
กลองมโหระทึกส าริด (kettle drum) จากวัฒนธรรมด่งเซิน (Dong Son) ซึ่งเจริญอยู่ในเขตตอน
2
ใต้ของประเทศจีนและภาคเหนือของประเทศเวียดนาม (ภาพที่ 11) รวมทั้งต่างหูหยก (nephrite
earring) รูปสัตว์สองหัวหรือแบบลิงลิง-โอ (lingling-o) จากวัฒนธรรมซาหวิ่น (Sa Huynh) ทาง
ตอนกลางของประเทศเวียดนาม (ภาพที่ 12)
3
27