Page 31 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 31

สิ่งที่น่าสนใจที่สุดประการหนึ่งในการศึกษาพัฒนาการของชุมชนโบราณสมัยก่อน
                       ประวัติศาสตร์ในประเทศไทยคือ ในช่วงราว 3,500 – 1,500 ปีมาแล้วซึ่งตรงกับยุคโลหะได้เกิด
                       การเปลี่ยนแปลงขึ้นหลายอย่างในทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ดังได้พบแหล่งโบราณคดี

                       ที่มีหลักฐานของการฝังศพมนุษย์พร้อมของอุทิศเป็นจ านวนมาก เช่น บ้านปราสาท, เนินอุโลก,

                       โนนเมืองเก่า, บ้านโนนวัด ในอ าเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา (ภาพที่ 7) เมืองบัว อ าเภอ
                       เกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โนนนกทา อ าเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น บ้านเชียง อ าเภอ
                       หนองหาน จังหวัดสกลนคร บ้านโป่งมะนาว อ าเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี บ้านดอนตาเพชร

                       อ าเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น









































                                ภาพที่ 7 หลุมฝังศพที่แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด อ าเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
                                    (ที่มา: http://f.tqn.com/y/archaeology/1/L/S/F/bannonwat_burial105.jpg)


                              แหล่งโบราณคดีในแต่ละพื้นที่จะมีความเชื่อหรือประเพณีในการฝังศพแตกต่างกัน เช่น
                       ในเขตจังหวัดลพบุรีและอ าเภอโนนสูงนิยมฝังศพในท่านอนหงายเหยียดยาวและมักเป็นการฝัง

                       ศพครั้งแรก (primary burial) หรือฝังทั้งโครง ขณะที่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ในจังหวัดร้อยเอ็ดนิยม

                       ฝังศพในภาชนะหรือไหใบใหญ่และมักเป็นการฝังศพครั้งที่ 2 (secondary burial) คล้ายกับการ






                                                               25
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36