Page 13 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 13

เรื่องน ้าเปลี่ยนสาย จดหมายลงไว้อย่างไร คนภายหลังก็จะคิดค้นหาลู่ทาง
                              ให้เหมือนอย่างที่ได้จดหมายลงไว้แต่ก่อน เมื่อค้นไปไม่เห็นจริงก็ไม่เชื่อ
                              เรื่องที่เล่านั้นก็ไม่เปนที่พบใจที่จะพิจารณาต่อไป อีกฝ่ายหนึ่งนั้นย่อม

                              ปรากฏรู้อยู่ด้วยกันโดยมาก ว่ามีล าน ้าเก่าล าน ้าด้วนอยู่เปนหลายแห่ง แต่ก็

                              ไม่มีผู้ใดพิจารณาให้เปนหลักฐานว่า ล าน ้าเดิมอย่างไร จึงเปนล าน ้าใหญ่
                              ด้วนเขินไปด้วยเหตุไร เมื่อครั้งใด เพราะเหตุที่ไม่ได้พิจารณาล าน ้า สอบกับ
                              ท้องเรื่องจดหมายโบราณ พงษาวดาร ฤาจดหมายเหตุ จึงได้สาบสูญ ลืมแล

                              เลือนไปเสียเปนอันมาก ได้รับสั่งเตือนพรยาโบราณบุรารุรักษ์ให้สืบสวน
                                                19
                              เรื่องนี้นานมาแล้ว ...”

                              พระราชด ารัสของรัชกาลที่ 5 ข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงมีความสนพระทัย
                       และทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลยิ่ง เพราะเป็นพื้นฐานของการศึกษาสภาพภูมิศาสตร์โบราณซึ่งจะ
                       มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของชุมชน อันเป็นประเด็นที่ส าคัญประเด็นหนึ่งในการศึกษาโบราณคดีใน

                       ปัจจุบัน


                              1.2.3  “เที่ยวเมืองพระร่วง” หนังสือส ำคัญของโบรำณคดีไทย

                              บุคคลส าคัญท่านหนึ่งที่ได้ท าการส ารวจตามเมืองโบราณต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ
                       สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (รัชกาลที่ 6) ซึ่งส าเร็จ

                       การศึกษาจากประเทศอังกฤษ พระองค์ทรงมีพระราชนิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และ
                       วรรณคดีหลายเรื่อง เช่น บ่อเกิดรามเกียรติ์ นารายณ์สิบปาง ขอมด าดิน ท้าวแสนปม จดหมาย

                       เหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. 128 เป็นต้น โดยพระราชนิพนธ์เรื่องที่ส าคัญที่สุดทางด้าน
                       ประวัติศาสตร์และโบราณคดีคือ “เที่ยวเมืองพระร่วง” เนื่องจากพระองค์ได้เสด็จไปยังเมือง

                       เก่าสุโขทัยและบริเวณใกล้เคียง (สวรรคโลกหรือศรีสัชนาลัย และก าแพงเพชร) เมื่อ พ.ศ. 2450
                       (ภาพที่ 2)

                               รัชกาลที่ 6 ทรงนิพนธ์ค าน าของหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วงไว้ว่า

                                     “... ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์ที่จะยกหนังสือนี้ เป็ น

                              ต ารับต าราอย่างใดเลย ประสงค์แต่จะตั้งโครงพอเป็นรูปขึ้นไว้ที่หนึ่ง
                              เพื่อผู้ที่มีความรู้และพอใจในการตรวจค้นโบราณคดีต่างๆ จะได้

                              ตกแต่งแต้มเติมให้เป็นรูปอันงดงามดีขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าแม้ผู้
                              ที่อ่านจะมีความเห็นไม่ตรงกับข้าพเจ้า ๆ จะไม่รู้สึกเสียใจเลย

                              แต่ตรงกันข้าม ถ้าแม้ท่านผู้ใดมีความเห็นไม่ตรงกับข้าพเจ้าในข้อใด








                                                                7
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18