Page 7 - เอกสารคำสอนทวารวดี - ศรีวิชัย
P. 7

บทที่ 1
                                                             บทน ำ


                              “โบรำณคดี” (Archaeology) คือการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตในทุกแง่ทุกมุม

                       ทั้งด้านสภาพสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง เทคโนโลยี การตั้งถิ่นฐาน
                       สภาพแวดล้อม สุขภาพ ฯลฯ นักโบราณคดีนั้นมีค าถามอย่างง่ายๆ คือ มนุษย์ (human)

                       ในอดีตท ำอะไร ? (what ?)  ที่ไหน ? (where ?) เมื่อไหร่ ? (when ?) และเหตุใดจึงท ำ

                       เช่นนั้น ? (why ?) โดยการศึกษาทางโบราณคดีมีความเกี่ยวข้องกับ 2 ปัจจัยหลักคือ สถำนที่
                       (space) และเวลำ (time) เพราะอย่างน้อยที่สุดนักโบราณคดีจะต้องอธิบายในเบื้องต้นให้ได้ว่า

                       มนุษย์ท าอะไรที่ไหนและเมื่อไหร่ ? ด้วยเหตุนี้จึงมีการจัดแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์และ
                       โบราณคดีเพื่อให้สะดวกต่อการศึกษาและการท าความเข้าใจล าดับพัฒนาการทางสังคมและ

                       วัฒนธรรมของมนุษย์


                                                                                       1
                       1.1  กำรแบ่งยุคสมัยทำงประวัติศำสตร์และโบรำณคดีในประเทศไทย
                              โดยทั่วไปแล้วยุคสมัยทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแบ่งออกเป็น 2 สมัย คือ
                       สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (prehistoric period) และสมัยประวัติศาสตร์ (historical period) โดยมี
                       ความหมายอย่างง่ายๆ ดังนี้

                              1)  สมัยก่อนประวัติศำสตร์ หมายถึง ช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์

                                 ตัวอักษรขึ้นใช้เพื่อการสื่อสาร ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือในสมัยของมนุษย์โฮโม
                                 อีเรคตัส (Homo erectus) หรือมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (Homo neanderthalensis)

                                 ซึ่งมีอายุหลายแสนหรือหลายหมื่นปีมาแล้ว เป็นต้น
                              2)  สมัยประวัติศำสตร์ หมายถึง ช่วงเวลาที่มนุษย์ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เพื่อ

                                 การสื่อสารและนักวิชาการสามารถอ่านและแปลความเรื่องราวเหล่านั้นได้แล้ว
                                 โดยตัวอักษรที่เก่าที่สุด (อักษรคูนิฟอร์ม) ค้นพบที่อารยธรรมเมโสโปเตเมียใน

                                 ภูมิภาคตะวันออกกลางซึ่งมีอายุราว 5,000 ปีมาแล้ว
                              นอกจากนี้ยังได้มีการก าหนดช่วงเวลาที่เรียกว่า “สมัยกึ่งก่อนประวัติศำสตร์” หรือ

                       “สมัยหัวเลี้ยวประวัติศำสตร์” (proto-historic period) อันเป็นช่วงรอยต่อระหว่างสมัยก่อน
                       ประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ขึ้น โดยมีค าอธิบายเป็น 2 กรณี คือ

                              1)  เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ในการสื่อสารแล้ว แต่นักวิชาการยัง

                                 ไม่สามารถอ่านและแปลความเรื่องราวเหล่านั้นได้ เช่นในกรณีของอารยธรรม
                                 ลุ่มแม่น ้าสินธุในประเทศอินเดียและปากีสถาน ซึ่งค้นพบตราดินเผาที่มีสัญลักษณ์








                                                                1
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12