Page 11 - Waste To Wealth : เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
P. 11
ค�านิยม
บันทึกหน้าแรกของการจัดการของเสียในประเทศไทย เกิดขึ้นในราว ปี พ.ศ. 2540
ภายใต้ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการก�าจัดสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
ซึ่งมีเจตนารมณ์ที่จะผลักดันให้ของเสียจากอุตสาหกรรมได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง
ตามหลักวิชาการ และเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการการจัดการของเสียต่างๆ เรื่อยมาจนถึง
ยุคปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่าของเสียอุตสาหกรรมได้รับการจัดการ
เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในช่วงเวลาที่มีการส่งเสริมให้น�าของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ในยุค
3R ตั้งแต่ ปี 2545 เป็นต้นมา ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดที่หลายคนเชื่อกันว่า
“แท้จริงแล้วอาจไม่มีของเสียในโลกนี้ ของเสียเป็นแค่ทรัพยากรที่อยู่ผิดที่ผิดเวลา
เท่านั้น”
ในทางกลับกัน เรื่องราวของบ่อขยะจากชุมชนบ้านเรือนในประเทศไทยที่สะสมไว้
มากกว่า 2,700 แห่ง ดูจะซับซ้อนมากกว่ามาก ทั้งนี้เนื่องจากขยะส่วนใหญ่ยังไม่ถูกจัดการ
จากต้นทางอย่างถูกวิธี โดยถูกทิ้งรวมกันทุกประเภท ท�าให้เกิดภาระในการจัดการในขั้นตอน
สุดท้าย และเหลือสะสมเป็นจ�านวนมาก
แนวคิดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ได้ถูกน�ามาใช้อย่าง
แพร่หลายในโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งนอกจากช่วยลดปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการ
ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า สามารถปฏิบัติอย่างต่อเนื่องได้จริง ขอบคุณความคิดดีๆ
ในการถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนนี้ ขอบคุณที่จุดประกาย
ให้เกิดการเริ่มต้นใช้ของเสียเป็นทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน ขอบคุณที่ส่งต่อความส�าเร็จ
ให้เกิดการสานต่อและขยายผลได้ต่อเนื่องต่อไป
นายธีระพล ติรวศิน
ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย