Page 8 - Waste To Wealth : เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
P. 8

ค�านิยม





             ปี 2557 ที่ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน เริ่มจัดงานเทศกาล “หมื่นโคมล้านนา
        แสนบุปผาบานสะพรั่ง” เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาวล้านนาไว้มิให้สูญไปกับกระแส
        ธารของกาลเวลา เทศกาลนี้จัดระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม - 5 มกราคม ของทุกปี การจัดงาน
        ประสบความส�าเร็จเป็นอย่างมากเพราะมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมงานหลายหมื่นคน
        โดยเฉพาะก่อนสิ้นปี วันที่ 29-30-31 บางวันคนมามากถึง 10,000 คน ต่อวัน แต่ท่ามกลาง
        การประสบความส�าเร็จของงานนี้ กลับมีมุมเล็กๆ ที่ท�าให้คนจัดงาน หรือเจ้าของสถานที่
        ไม่มีความสุขอยู่เรื่องหนึ่ง นั่นก็คือ การมีขยะล้นเกิน และขยะเหล่านั้นไม่ได้ไปล้นเกินอยู่
        ตามถังขยะ หากแต่ไปล้นเกินอยู่ตามสุมทุมพุ่มไผ่ที่แสนจะสวยงามของไร่เชิญตะวัน
        ใครต่อใครที่เคยมาเยือนไร่เชิญตะวัน ย่อมจะรู้ดีว่าเรามีถนนไผ่ที่แสนจะสวยงามยาวกว่า
        100 เมตร ถนนเส้นนี้เป็นสถานที่ถ่ายท�ารายการสารคดี โทรทัศน์ จัดวิ่ง จัดปั่นจักรยาน
        มานับครั้งไม่ถ้วน ยิ่งหน้าฝนก็จะสวยงามมากพิเศษ เพราะจะกลายเป็นถนนสีเขียวชอุ่ม
        ที่เป็นเส้นน�าสายตาขนาดยาว ชวนให้มาเดินเล่น ปั่นจักรยาน หรือเดินจงกรมในยามรุ่งอรุณ
        แต่ถนนไผ่เส้นที่แสนจะสวยงาม และโรแมนติกนี่แหละ ในช่วงที่เราจัดงานเทศกาลหมื่นโคม
        ล้านนาแสนบุปผาบานสะพรั่ง มันได้กลายเป็นที่ซุกซ่อนของขวดน�้านับพันๆ ขวด ที่เหล่า
        นักท่องเที่ยวเอามาซุกไว้ นอกจากนั้นก็ยังเป็นที่แขวนถุงพลาสติกพร้อมน�้าแข็งก้นถุง
        ที่ถูกดูดจนน�้าเขียว น�้าแดง หายไปหมดแล้ว พร้อมทั้งแก้วชา กาแฟ พลาสติกที่บางใบ
        ก็ซุกอยู่ในพุ่มไผ่ บางใบก็ซุกอยู่ที่กอ เช้าวันหนึ่ง ผู้เขียนเดินเก็บขวดน�้า เศษถุงพลาสติก
        และแก้วน�้าพลาสติกได้มากเกินกว่า 300 ชิ้น จ�าได้ว่า ผู้เขียนสั่งให้ลูกศิษย์บันทึกภาพ
        เศษขยะเหล่านี้ไว้ด้วย เพราะรู้สึกสะเทือนใจกับพฤติกรรมการทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง
        ของนักท่องเที่ยว จากแรงบันดาลใจเรื่องการไม่มีวินัยในการทิ้งขยะดังกล่าวมานี้เอง ผู้เขียน
        จึงมองหารูปแบบในการจัดการขยะอย่างเป็นมืออาชีพ และต่อมาก็มีโอกาสได้เดินทางไป
        เรียนรู้ดูงานที่มูลนิธิพุทธฉือจี้ ประเทศไต้หวัน และได้มาร่วมงานกับทีมงานของ ดร.สุเมธ
        ตันติเวชกุล และคณะ ท�าให้นับแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้เขียนก็ริเริ่มโครงการ “ขุมทองกลางกองขยะ”
        ขึ้นมาที่ไร่เชิญตะวัน โดยเรามองว่า “ขยะไม่ใช่ขยะ หากแต่เป็นทรัพยากรที่รอการจัดการ
        ให้ถูกต้อง เหมาะสม และเมื่อมีการบริหารจัดการอย่างถูกต้อง เหมาะสมแล้ว ขยะจะกลาย
        เป็นทรัพยากรที่แสนล�้าค่าราวกับเป็นทองค�า”
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13