Page 6 - Waste To Wealth : เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
P. 6
ค�านิยม
“ขยะ” เป็นปัญหาส�าคัญที่สังคมโลกก�าลังเผชิญ จ�านวนประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้น
อย่างทวีคูณ ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะล้นเมืองอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
การแก้ปัญหา “ขยะ” ต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนจิตส�านึก ตั้งแต่ต้นทางคือ
สร้างขยะให้น้อยที่สุด และเมื่อเกิดขยะแล้วก็หาทางจัดการอย่างถูกวิธี คัดแยกขยะ
ให้ถูกประเภท และจัดการทางไปของขยะให้ถูกต้องตามแต่ละชนิดของขยะ แต่ปัญหานี้
ก็คงจะไม่หมดไป หากท�ากันเพียงแค่คนสองคน ขาดความร่วมไม้ร่วมมือ ขาดการจัดการ
ร่วมกันให้ครบทั้งระบบ
หลายชุมชนลุกขึ้นมาจัดการขยะ และประสบผลส�าเร็จเป็นอย่างดี เกิดต้นแบบ
การจัดการขยะที่ดีในหลายพื้นที่ หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมตัวอย่างการจัดการขยะที่ดี
ที่เห็นผลส�าเร็จ แล้วน�ามาเป็นแบบอย่าง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับอีกหลายๆ ชุมชน
ลุกขึ้นมาจัดการขยะในพื้นที่ของตนเอง บทเรียนความส�าเร็จของการจัดการขยะในหลายพื้นที่
แตกต่างหลากหลายอย่างน่าสนใจ เช่น ชุมชนบ้านรางพลับจัดการขยะได้ด้วยผู้น�าหักดิบ
เก็บถังขยะทั้งหมู่บ้าน เพื่อสร้างนิสัยใหม่ให้กับคนในชุมชน Chula Zero Waste เริ่มจัดการ
ขยะด้วยการจัดการข้อมูลขยะก่อน เพื่อให้รู้สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาขยะ เมื่อพบว่าอยู่ที่
ถุงพลาสติก ก็เริ่มจัดการจากตรงนั้น ชุมชนบ้านครึ่งใต้ จริงจังด้วยกิจกรรมขยะแทนเงิน
และตั้งกฏบังคับใช้อย่างจริงจัง บางซื่อโมเดล เกิดจากนโยบายที่มุ่งมั่นชัดเจนของผู้บริหาร
องค์กร และลองผิดลองถูกท�าไปจนเกิดผล
“เงินทองจากกองขยะ” นี้ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า “ขยะ”
เป็นของมีค่า เพียงแต่ต้องจัดการอย่างถูกวิธี เอสซีจี ได้รวบรวมเรื่องราวการจัดการขยะ
ที่หลากหลาย น�ามาถอดบทเรียนความส�าเร็จเป็นตัวอย่าง เพื่อน�าไปปรับประยุกต์ใช้และ
ปฏิบัติตามอย่างเหมาะสมกับบริบทของตนเอง ความรู้จากหนังสือเล่มนี้จะไม่เกิดประโยชน์เลย
หากไม่ได้ถูกน�าไปปฏิบัติจริง ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกภาคส่วนที่ได้รับหนังสือเล่มนี้ไป
จะช่วยกันขยายเครือข่ายความส�าเร็จการจัดการขยะได้เป็นอย่างดีต่อไป
ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล
เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา