Page 72 - Waste To Wealth : เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
P. 72
ร้านค้าศูนย์บาทพลัส
จากที่เคยลงทุนหุ้นกันแค่ 3 บ้าน
3 ครอบครัว พีรธรตัดสินใจเปิดร้านค้าในชุมชน
อ่อนนุช 14 ไร่ โดยใช้ขยะแทนเงิน พร้อมกับ
ชักชวนคนในชุมชนมาร่วมเป็นสมาชิกและ
ปันผลในรูปแบบสหกรณ์
ส�าหรับผู้ที่ต้องการเป็นสมาชิก เพียงถือ
ขยะจ�านวน 10 บาทมาลงหุ้น ก็สามารถเป็น
สมาชิกได้ทันที และทุกๆ เดือนจะได้รับ
เงินปันผล หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วเป็นจ�านวน
30 เปอร์เซ็นต์ โดยก�าไรหลังหักค่าใช้จ่ายที่เหลือ
อีก 70 เปอร์เซ็นต์ พีรธรจะแบ่ง 20 เปอร์เซ็นต์
ให้กับจิตอาสาและคณะกรรมการที่มาช่วยงาน
อีก 50 เปอร์เซ็นต์ จะน�ามาพัฒนาชุมชน เช่น
สร้างอาคารและเป็นค่าใช้จ่ายต้อนรับผู้มาศึกษา
ดูงาน หรือเป็นทุนส�าหรับสมาชิกไปศึกษาดูงาน
เกี่ยวกับขยะในพื้นที่อื่น
ร้านค้าแห่งนี้มีชื่อว่า “ร้านศูนย์บาทพลัส”
พีรธรยอมรับว่า ในช่วงเริ่มแรก ผู้คนในชุมชน
ไม่สนใจเป็นสมาชิก ส่วนใหญ่จะเอาขยะมาซื้อ
ของกินของใช้เสียมากกว่า แต่เขาไม่ได้ทดท้อ
หรือคิดถอดใจ กลับมองว่า ขยะก�าลังค่อยๆ
ท�าหน้าที่เชื่อมร้อยทุกคนเข้าหากันทีละนิดๆ
“5 ปีแรก มีคนร่วมหุ้นเพิ่มขึ้นแค่ 4 ครอบครัว
เองนะ รวมกับที่มีอยู่เดิม 3 ก็เป็น 7 ครอบครัว
ซึ่งถือว่าน้อยมาก แต่เราไม่รู้สึกท้อเลย ไม่รู้
จะท้อท�าไม เรามองว่าถึงไม่มีคนเป็นสมาชิกเพิ่ม
แต่ก็ยังมีคนเอาขยะมาซื้อของไม่เคยขาด สิ่งที่ได้
แน่ๆ เลยคือ คนในชุมชนแยกขยะกันตั้งแต่
70 | Waste to Wealth ... เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน