Page 73 - Waste To Wealth : เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
P. 73

ต้นทางมากขึ้น เพราะการที่คุณจะเอาขยะมาซื้อของได้ คุณต้องแยกขยะ และสิ่งที่เราเห็น
            ตามมาก็คือ คนในชุมชนเริ่มรู้จักกันมากขึ้น เพราะเวลาเอาขยะมาแลกที่ร้านศูนย์บาทพลัส
            เขาก็ต้องเจอกัน ต้องคุยกันกลายเป็นมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น ยิ่งภายหลังพอเขามาเป็น
            สมาชิกด้วยกัน มีกิจกรรมต้องท�าร่วมกัน ก็ยิ่งมีความสนิทสนมกลมเกลียวกันขึ้นไปอีก
            กลายเป็นว่า ที่เขามาสนิทกันได้ก็เพราะขยะ เราต้องให้เวลาหน่อย ถ้าเราท�าจริงเดี๋ยวคน
            เขาก็เข้ามาเอง”

                 จาก 7 ครอบครัวใน 5 ปีแรก ขยายสู่กลุ่มซาเล้งทั้ง 30 ครอบครัวในเวลาต่อมา
            การบอกต่อแบบปากต่อปากท�าให้ยอดสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน ร้านศูนย์บาท
            พลัส มีสมาชิก 94 ครอบครัว
                 การจัดการขยะ นอกจากจะช่วยลดรายจ่ายไม่ต้องน�าเงินมาซื้อของกินของใช้แล้ว
            ยังช่วยให้พวกเขามีรายได้เพิ่มขึ้นจากหลายทาง นอกจากงานประจ�าที่ท�าอยู่ ไม่ว่าจะ
            เป็นการน�าขยะมาประดิษฐ์เป็นของใช้ต่างๆ ขายให้กับผู้มาดูงานในชุมชน การเป็นวิทยากร
            ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ ยังไม่นับรายได้จากเงินปันผลทุกๆ 6 เดือน จากการเป็น
            สมาชิกร้านศูนย์บาทพลัส

                 พีรธร ในฐานะผู้น�าในชุมชนมองไปไกลกว่านั้น นอกจากขยะจะท�าคนในชุมชนรักใคร่
            สนิทสนมกัน รวมทั้งท�าให้พวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว คงจะดีไม่น้อย หากพี่น้องในชุมชน
            อ่อนนุช 14 ไร่ สามารถได้รับสวัสดิการบางอย่างในชีวิตเพิ่มขึ้น และไม่ต้องจ่ายเงินสักบาท
            เดียวส�าหรับสวัสดิการที่จะได้รับเพิ่มขึ้นนั้น

                 “เราจะจ่ายค่าสวัสดิการนี้ด้วยการใช้ขยะแทน”























              Waste to Wealth ... เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน | 71
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78