Page 70 - Waste To Wealth : เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
P. 70

จุดเปลี่ยนความคิด
            แรกเริ่มที่มาอยู่ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ พีรธรยอมรับว่า ในชุมชนมีแต่ปัญหา

            “ลองนึกภาพคนใต้สะพานจากหลายๆ ที่มารวมตัวกันอยู่ในชุมชนเดียว แต่ละคน
        แทบไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ปัญหาเกิดขึ้นแน่นอน ทั้งการทะเลาะเบาะแว้ง ไม่มีความสามัคคี
        มีเรื่องไม่เว้นแต่ละวัน ไหนจะปัญหาเรื่องปากท้อง เพราะแต่ละครอบครัว ล้วนประกอบ
        อาชีพเหมือนๆ กัน กลายเป็นแย่งที่ท�ามาหากินกันอีก อย่างอาชีพขับรถซาเล้งเก็บขยะ
        ที่เราท�าอยู่ มีอีกตั้ง 30 กว่าครอบครัวท�าเหมือนเรา พอออกไปเก็บขยะที่เดียวกัน ก็ทับที่
        ทับทาง มีปัญหาเกิดขึ้น”

            ในช่วงเวลานั้น  พีรธรหาเงินจากการเก็บขยะได้เฉลี่ยวันละ 300 กว่าบาทเท่านั้น
        กระทั่งวันหนึ่ง เขาเกิดความคิดวาบขึ้นมา
            “วันหนึ่งระหว่างรอแฟนซื้อของที่ตลาด เราคิดว่า สิ่งที่ทุกคนต้องพกมาตลาดด้วย
        แน่ๆ ก็คือเงิน ผมเลยตั้งค�าถามกับตัวเองว่า ถ้าไม่ต้องใช้เงินเป็นตัวเชื่อมระหว่างคนซื้อกับ
        คนขายจะเป็นยังไง จะอยู่กันได้ไหม”

            พีรธรไม่เพียงคิด แต่ลงมือท�าทันที โดยน�าเงินที่พอมีเหลือติดตัวอยู่ 2,000 บาท ไปซื้อ
        ของใช้ อาทิ แฟ้บ สบู่ ยาสีฟันยาสระผม แล้วให้คนน�าขยะมาแลกสินค้าตามราคาที่ก�าหนดไว้

            “เราจะมีราคาของขยะแต่ละประเภทก�าหนดไว้ เช่น ขวดพลาสติกกิโลละ 3 บาท
        ขวดแก้วกิโลละ 5 บาท กระดาษกิโลละ 4 บาท ราคานี้จะขึ้นลงตามราคาตลาด ถ้าคุณ
        อยากได้ยาสระผมราคา 20 บาท คุณไม่ต้องใช้เงินซื้อ แต่เอาขยะที่รวมกันได้ราคา 20 บาท
        มาจ่ายแทน



        68 | Waste to Wealth ... เงินทองจากกองขยะ ถอดบทเรียนการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75