Page 29 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 29
การวิเคราะห์ผลการวิจัย (Data Analysis)
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ประกอบด้วย ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. การเปรียบเทียบก่อนและหลังการท�ากิจกรรมโดยใช้สถิติ paired
T-test หรือ Chi- square test ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05
3. การวิเคราะห์ปัจจัยความสัมพันธ์ใช้การวิเคราะห์ Pearson Product
Moment Correlation และ Linear Regression Analysis หรือ Logistic
regression
4. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์ตามเนื้อหาและ
จับประเด็นส�าคัญ ( Content analysis)
ข้อพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยในคน (Ethical Consideration)
เหตุผลและความจ�าเป็นที่ต้องด�าเนินการวิจัยในคน
เด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกฯ ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการเพราะ
เป็นทรัพยากรที่ส�าคัญในการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต อยู่ในบริบทที่ไม่มีกลุ่ม
ตัวอย่างอื่นทดแทนได้ อย่างไรก็ตามการเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการวิจัยนี้ มีความ
เสี่ยงน้อยมาก เนื่องจากเด็กและเยาวชนทุกคนจะได้รับการคัดกรองโควิด และ
ประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้น ด้วยการซักประวัติ และตรวจร่างกาย ผ่านเกณฑ์
มาตรฐานการดูแลสุขภาพ และมีความปลอดภัยในการเข้าร่วมกิจกรรม เนื่องจาก
พยาบาลและทีมสหวิชาชีพในทุกศูนย์ฝึก เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ และมีหน้าที่
คอยดูแลโดยตรงอยู่แล้วในงานประจ�า และมีการดูแลเด็กและเยาวชนทุกคนอย่าง
ใกล้ชิด ตลอดเวลาที่ท�ากิจกรรมตามมาตรฐานของกรมพินิจฯ ตามปณิธานที่ว่า
“พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ” และในช่วงการประเมินผลด้วยแบบประเมินทุกชุด
หากมีข้อสงสัย ไม่แน่ใจ สามารถสอบถามจากพยาบาลและทีมวิจัยได้ตลอดเวลา
นอกจากนี้เด็กและเยาวชนสามารถขอออกจากโครงการ และออกจากการท�า
กิจกรรมได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งเหตุผลให้ทราบล่วงหน้า และจะไม่ได้รับ
28 พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research