Page 24 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 24
กระบวนการเก็บข้อมูล (Data collection process)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและคุณภาพของเครื่องมือ
แบบประเมินผลสุขภาวะมีทั้งหมด 5 ชุดทีมผู้วิจัยพัฒนาจากการทบทวน
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและดัดแปลงให้สอดคล้องกับบริบทเด็กและเยาวชนในศูนย์
ฝึกและอบรมฯ และเป็นแบบประเมินที่มีการใช้งานในการปฏิบัติงานประจ�าภายใน
ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนอยู่ก่อนแล้ว ประกอบด้วยแบบประเมินสุขภาวะ
รายด้านคือ
1. แบบบันทึกข้อมูลส่วนตัว ประกอบด้วย อายุ เพศ ภูมิล�าเนาก่อนเข้าพัก
ในศูนย์ฝึกและอบรม ระดับการศึกษา ประวัติสุขภาพเบื้องต้น คือ โรคประจ�าตัว
สัญญาณชีพ อุณหภูมิร่างกาย ชีพจร (ครั้ง/นาที) ประวัติการเจ็บป่วยหรือโรคประจ�า
ตัว และประวัติการสูบบุหรี่ ประสบการณ์การเลิกบุหรี่ ฯลฯ จ�านวน 9 ข้อ
2. แบบประเมินพฤติกรรมบริโภคอาหาร ตอนพฤติกรรมการบริโภคทั่วไป
ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเยาวชนที่คล้ายกลุ่มตัวอย่างจริง ศูนย์ฝึกฯละ 5 คน รวม
25 คน ค�านวณค่า Cronbach alpha coefficient เท่ากับ 0.804
ตอนพฤติกรรมการบริโภคที่ชอบ ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเยาวชนที่
คล้ายกลุ่มตัวอย่างจริง ศูนย์ฝึกฯละ 5 คน รวม 25 คน ค�านวณค่า Cronbach al-
pha coefficient เท่ากับ 0.72
ตอนความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภค ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
เยาวชนที่คล้ายกลุ่มตัวอย่างจริง ศูนย์ฝึกฯละ 5 คน รวม 25 คน ค�านวณค่า Cron-
bach alpha coefficient เท่ากับ 0.71
น�้าหนักตัว ส่วนสูง อาหารรับประทานบ่อย อาหารที่ชอบ ฯลฯ ประยุกต์
จากแบบประเมินโภชนาการของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จ�านวน 46 ข้อ
การแปลผลหากมีการเลือก/ชอบกิจกรรมนั้นๆ บ่อย หมายความว่ามีพฤติกรรม
การบริโภคไม่ดีต่อสุขภาพ
3. แบบประเมินพฤติกรรมการออกก�าลังกายและกิจกรรมทางกาย ชนิด
การออกก�าลังกาย ความถี่ในการออกก�าลังกาย กิจกรรมทางกายที่ท�าในชีวิตประจ�าวัน
การประเมินสมรรถภาพร่างกาย ฯลฯ ประยุกต์จากแบบประเมินการออกก�าลังกาย
พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 23
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research