Page 4 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 4

ผศ.ดร.ม.ล.สมจินดา ชมพูนุท


                                                                              ผศ.ดร.ม.ล.สมจินดา ชมพูนุท

               วัตถุประสงค์

                     เมื่อนักศึกษาเรียนเรื่องนี้จบแล้ว นักศึกษาสามารถ

                     1. อธิบายเป้าหมายของการจ าแนกผู้ประสบภัยและป้ายสัญลักษณ์ผู้ประสบภัยได้
                     2.  อธิบายการจ าแนกผู้ประสบภัย ณ จุดเกิดเหตุได้

                     3.  วิเคราะห์และจ าแนกกรณีตัวอย่างตามระบบการจ าแนกผู้ประสบภัย ณ จุดเกิดเหตุได้
                     4.  อธิบายระบบการจ าแนกผู้ประสบภัย ณ โรงพยาบาลได้
                     5.  วิเคราะห์และจ าแนกกรณีตัวอย่างตามระบบการจ าแนกผู้ประสบภัย ณ โรงพยาบาลได้


                     การจ าแนกเริ่มใช้ในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากสงครามในสมัยนโปเลียน  เมื่อประมาณต้นศตวรรษที่

               18 โดย ศัลยแพทย์ Baron  Dominiqe Jean Lary ซึ่งในครั้งนั้นมีการก าหนดวัตถุประสงค์ของการ Triageว่า
               เพื่อให้การรักษาแก่ผู้ที่ต้องการการรักษาอย่างรีบด่วน   ต่อมาในระหว่างสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม
               หน่วยทหารได้น าวิธีการนี้ไปใช้และปรากฏผลเป็นที่น่าพอใจเพราะสามารถช่วยลดอัตราตายทหารได้มากกว่า
               เมื่อเปรียบเทียบกับการให้การรักษาพยาบาลแก่ทหารในสงครามโลกครั้งที่ 2



               1. ความหมายของการจ าแนกผู้ประสบภัย (Definition of triage)
                        การจ าแนกผู้ประสบภัย(Triage, Medical Sort) มาจากค าว่า “Tier” ในภาษาฝรั่งเศส หมายถึงการ
               เสาะหา เลือกเฟ้น (วรรณา สมบูรณ์วิบูลย์, 2548) หลักแนวคิดของการจ าแนกผู้ประสบภัยมีมาตั้งแต่สมัยพระ

               เจ้านโปเลียน เพื่อใช้ในการเลือกช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจ ากัด ในสถานการณ์
               สาธารณภัย หมายถึง การจ าแนกหรือแยกประเภทของผู้ประสบภัยเพื่อเลือกให้การช่วยเหลือตามล าดับความ
               ส าคัญและจ าเป็น  โดยมุ่งหวังที่จะรักษาชีวิตผู้ประสบภัยให้ได้จ านวนมากที่สุด ในสถานการณ์สาธารณภัยซึ่ง

               เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินมีผู้ประสบภัยจ านวนมากแต่มีบุคลากร เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์จ านวน
               จ ากัด การดูแลรักษาผู้ประสบภัยจึงต้องค านึงถึงโอกาสของการมีชีวิตรอดหลังได้รับการช่วยเหลือและจะไม่
               เสียเวลาในการที่จะต้องดูแลผู้ประสบภัยที่มีอาการหนักเพียงคนใดคนหนึ่งแต่ปล่อยให้ผู้ประสบภัยซึ่งมีอาการ
               รุนแรงน้อยกว่าและมีโอกาสรอดได้มากกว่าอีกหลายคนต้องพลาดโอกาสในการได้รับความช่วยเหลือซึ่งแตกต่าง

               จากการรักษาพยาบาลในภาวะปกติหรือในสถานพยาบาลโดยทั่วไปที่จะเน้นหลัก  "ความรุนแรงของการ
               บาดเจ็บ" และ "มาก่อนรักษาก่อน"
                        การจ าแนกแบ่งเป็น Disaster triage และ Daily triage ส าหรับ Disaster triage เหมือนกับ Military
               triage ที่มี “greatest good for the greatest number of wounded or injured men” เป็นเป้าหมาย

               ส าหรับ Daily triage เริ่มใช้ในปีพ.ศ.2503 เนื่องจากไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้มาใช้บริการที่
               หน่วยฉุกเฉินได้ ทั้งเรื่องสถานที่ อุปกรณ์ บุคลากรที่ให้การดูแล ดังนั้นการจ าแนกจึงถูกน ามาใช้เพื่อแยกผู้ป่วย
               ว่ารายใดต้องได้รับการดูแลทันทีรายใดที่สามารถรอได้ การจ าแนกมักจะใช้ควบคู่กับป้ายสัญลักษณ์



               4
   1   2   3   4   5   6   7   8   9