Page 6 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 6

ระยะๆ ทุก 15 - 30 นาที เพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงทีหากมีอาการทรุดลง ในสถานการณ์สาธารณภัยจะ
               พบผู้ประสบภัยกลุ่มนี้ประมาณ 20 % ของผู้ประสบภัยทั้งหมด

                         3.3. Non-urgent (Green) เป็นสัญลักษณ์ของผู้ประสบภัยที่จัดเป็นอันดับที่สาม (third priority) ที่ต้อง
               ให้ความช่วยเหลือเป็นกลุ่มที่บาดเจ็บเล็กน้อย ไม่จ าเป็นต้องรีบรักษาหรือน าส่งโรงพยาบาลเพียงแต่ให้การปฐม
               พยาบาลแล้วให้กลับบ้านหรือแนะน าให้มาตรวจรักษาในวันรุ่งขึ้นได้ ในสถานการณ์สาธารณภัยจะพบผู้ประสบภัย

               กลุ่มนี้ประมาณ 40 % ของผู้ประสบภัย
                       3.4. Deceased (Black) เป็นสัญลักษณ์ของผู้ประสบภัยที่จัดเป็นอันดับที่สี่ (Fourth Priority) หรือ
               อันดับสุดท้ายที่จะได้รับการช่วยเหลือหรือน าส่งไปสถานพยาบาล เป็นกลุ่มที่มีความหวังในการรอดชีวิตต่ า หรือ
               เป็นประเภทหมดหวัง เนื่องจากการช่วยชีวิตผู้ป่วยประเภทนี้หนึ่งราย ต้องใช้บุคลากรและอุปกรณ์ทางการ

               แพทย์ค่อนข้างมาก และต้องใช้เวลานาน อีกทั้งไม่สามารถแน่ใจว่าเมื่อช่วยแล้วจะรอดชีวิตหรือไม่ซึ่งอาจท าให้
               พลาดโอกาสในการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยอื่น ๆ อีกหลายราย อย่างไรก็ดีผู้ประสบภัยในกลุ่มนี้ไม่ควรถูกทอดทิ้ง
               และควรได้รับการดูแลตามสมควรเพื่อให้รู้สึกสบายหรือเจ็บป่วยทรมานน้อยที่สุด ในสถานการณ์สาธารณภัยจะ
               พบผู้ประสบภัยกลุ่มนี้ประมาณ 20 % ของผู้ประสบภัยทั้งหมด


               4. ระบบการจ าแนกผู้ประสบภัย (Disaster triage system)
                     การจ าแนกผู้ประสบภัยเป็นกระบวนการที่ต้องกระท าอย่างต่อเนื่อง ( Dynamic) ไม่ใช่ท า ณ เวลาใด
               เวลาหนึ่งเท่านั้น การจ าแนกต้องท าหลายครั้งในระหว่างกระบวนการดูแลผู้ประสบภัย โดยท าที่จุดเกิดเหตุ ท า

               ก่อนเคลื่อนย้าย ท าที่จุดรักษาพยาบาล ท าก่อนจะส่งมายังโรงพยาบาล ท าเมื่อมาถึงโรงพยาบาล ท าระหว่าง
               การดูแลรักษาที่ห้องฉุกเฉิน  ระบบการจ าแนกผู้ประสบภัยมีหลายระบบ ได้แก่
                     4.1 Triage sieve เป็นการคัดแยก ณ จุดเกิดเหตุอย่างรวดเร็ว เพื่อจัดกลุ่มผู้บาดเจ็บในเบื้องต้น ใช้
               หลักการไม่ยุ่งยากและในการจ าแนก ไม่ต้องใช้ข้อมูลของผู้บาดเจ็บมากนัก ฉะนั้นผู้บาดเจ็บที่ได้รับการท า
               Triage sieve เรียบร้อยแล้วจึงจ าเป็นต้อง Triage ซ้ าๆไปเรื่อยๆหรือท า Triage sort ถ้ามีบุคลากรทาง

               การแพทย์มาถึงและมีจ านวนมากพอในการแยก เพราะการท า Triage sieve แล้ว ระยะต่อมาผู้บาดเจ็บอาจมี
               อาการเปลี่ยนแปลงได้ จึงต้องติดตามประเมินอย่างต่อเนื่อง เพื่อผู้บาดเจ็บจะได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสม
               และทันท่วงที การท าTriage sieve มีหลักการดังนี้

                           4.1.1 แยกผู้บาดเจ็บที่เดินได้ออกมาก่อน แล้วจัดกลุ่มนี้เป็น T3,delayed คือ ผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง
               สามารถรอได้นานเกิน 24 ชั่วโมง
                           4.1.2 จากนั้นมาประเมินผู้ที่เดินไม่ได้ โดยการประเมิน ABC อย่างรวดเร็วดังนี้
                                  1)  ผู้ที่ไม่หายใจ ให้เปิดทางเดินหายใจ (A : Airway) โดยการท า Head tilt and chin

               lift หรือไม่สามารถท าได้ให้พิจารณาท า Jaw thrust ถ้าเปิดทางเดินหายใจ แล้วยังไม่หายใจ ให้จัดอยู่ในกลุ่ม
               เสียชีวิต ถ้าเปิดทางเดินหายใจ แล้วหายใจได้ ให้จัดอยู่ในกลุ่ม T1, Immediate
                                    - ผู้ที่หายใจได้ ให้ประเมินหายใจ (B : Breathing) โดยดูอัตราการหายใจดังนี้
                                         - ถ้าหายใจน้อยกว่า 10 ครั้ง/นาทีหรือมากกว่า 30 ครั้ง/นาทีให้จัดอยู่ในกลุ่ม T1,

                                                Immediate
                                         - ถ้าหายใจ เท่ากับ 10-29 ครั้ง/นาที ให้ประเมินการไหลเวียน (C : Circulation)
                                  2) ประเมินการไหลเวียน ( C: Circulation )





               6
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11