Page 7 - คู่มือการดำเนินงานขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
P. 7
บทน�ำ
การศึกษาเป็นเครื่องมือสำาคัญในการพัฒนาและส่งเสริมความรู้ความคิดให้กับเยาวชนของประเทศ
โดยเฉพาะในโลกของศตวรรษที่ ๒๑ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร และการคิดค้น
พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ทั้งนี้ ในการเรียนรู้ภาษาไทย สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยสถาบันภาษาไทย สำานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ได้ให้ความสำาคัญกับการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน
ภาษาไทยมาโดยตลอด เนื่องจากภาษาไทยเป็นเครื่องมือสำาคัญในการแสวงหาความรู้ การติดต่อสื่อสาร
เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีต่อกัน อันจะส่งผลต่อการเรียนรู้ การประกอบกิจธุระ การงาน
และการดำารงชีวิตร่วมกันต่อไป ด้วยเหตุนี้ จึงมีการกำาหนดนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำาคัญ
กับการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นพื้นฐาน เพื่อให้ผู้เรียนนำาไปใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้
และการดำารงชีวิต ทั้งนี้ การดำาเนินการพัฒนาดังกล่าว มุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย
การพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียนเพื่อนำาไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุขในสังคม
สำาหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ นี้ สถาบันภาษาไทย สำานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
ได้ให้ความสำาคัญกับการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อนำาไปสู่การพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้
ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่าง ๆ อย่างเป็นองค์รวม สำาหรับการเรียนรู้และการใช้ชีวิตโดยการใช้ภาษา
เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร การแสวงหาความรู้ด้วยความเข้าใจ เคารพในความคิดเห็น และความแตกต่าง
หลากหลาย รวมทั้งสามารถเลือกและสร้างสื่อเพื่อใช้สื่อสารได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม สร้างสรรค์ มีสุนทรียภาพ
และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งนี้ เพื่อการดำารงอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขต่อไป
เป้ำหมำยของกำรพัฒนำคุณภำพกำรเรียนกำรสอนภำษำไทย
๑. เพื่อพัฒนานักเรียนให้อ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง และใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒. เพื่อพัฒนาเทคนิควิธีสอนของศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบงานภาษาไทยและครูผู้สอนภาษาไทย
ให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์กำรด�ำเนินงำน
๑. เพื่อให้ผู้บริหารทุกระดับ ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา ให้ความสำาคัญ มีความตระหนัก
และร่วมมือรับผิดชอบในการเร่งรัดพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย
๒. เพื่อให้ครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถเชื่อมโยงการจัดการเรียนรู้
เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย
๓. เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมให้ความสำาคัญ มีความตระหนัก และร่วมมือ
รับผิดชอบในการเร่งรัดพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย
๔. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามที่กำาหนดไว้ในหลักสูตร
คู่มือการดำาเนินงานขับเคลื่อนสู่ความสำาเร็จ
ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ 1