Page 62 - ผู้หญิงก้าวเดิน : มูลนิธิรักษ์ไทย
P. 62
05 กำรท�ำงำนลดอันตรำย
ส�ำหรับผู้ใช้สำรเสพติด
เรื่องราวของ “เอ” เป็นตัวอย่างหนึ่งของผู้ปฏิบัติงานในโครงการยุติวัณโรคและเอดส์
ในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด (PWID) ซึ่งมีที่มาจากการเริ่มต้นของงานลดอันตราย
สำาหรับผู้ใช้สารเสพติดของมูลนิธิรักษ์ไทย และองค์กรภาคีที่เข้าร่วมโครงการ
ยุติเอดส์ด้วยการป้องกันการรับ/แพร่เอชไอวี และการเข้าถึงการตรวจเอชไอวี
เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว
แม้ว่าประเทศไทยจะเริ่มงานและประสบความสำาเร็จด้านการป้องกันโรคเอดส์
ในกลุ่มประชากรทั่วไป แต่ยังมีประชากรอีกกลุ่มหนึ่งที่ระบบสาธารณสุขเข้าถึงยาก
4 กลุ่ม หนึ่งในนั้นคือ ผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด เพราะติดจากการใช้
เข็มร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้ใช้ยาที่เป็นเพื่อนกัน รวมทั้งพฤติกรรมที่ต้องปกปิดไม่ให้
คนทั่วไป และเจ้าหน้าที่ของรัฐรับรู้
ในปี 2545 ที่กองทุนโลกเปิดดำาเนินการ โดยใช้กลไกร่วมกับหลายภาคส่วน
ในการพิจารณาพัฒนาโครงการ โดยหน่วยงานหลักภาครัฐ คือกระทรวงสาธารณสุข
ตัวแทนประชากรได้เสนอให้มีโครงการลดอันตรายผู้ใช้ยาเสพติดโดยการฉีด
(People Who Inject Drugs) แต่ที่ประชุมยังไม่เห็นความจำาเป็น
หลังจากนั้นตัวแทนกลุ่มประชากรได้มาติดต่อ มูลนิธิรักษ์ไทย ขอให้เสนอโครงการ
ช่วยเหลือผู้ใช้ยาเสพติดจากการรับเชื้อเอชไอวีโดยตรงไปที่กองทุนโลก ซึ่งเปิดโอกาส
ให้ทำาได้ หากภาคประชาสังคมคิดว่ามีความจำาเป็น ทางกองทุนโลกพิจารณาอนุมัติ
โครงการโดยให้มูลนิธิรักษ์ไทย เป็นผู้บริหารโครงการ ในปี 2546 จึงเป็นที่มาของ
โครงการลดอันตราย (Harm Reduction) และได้พัฒนาต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน
60 ผู้หญิงก้าวเดิน