Page 85 - ผู้หญิงก้าวเดิน : มูลนิธิรักษ์ไทย
P. 85
โดยพื้นฐานครอบครัวของกาญจนานั้น พ่อเป็นคนกะเหรี่ยงและแม่เป็นคนพื้นเมือง
แต่ใช้ภาษากะเหรี่ยงได้ไม่ค่อยคล่องนัก ตอนที่เข้าไปเริ่มทำางานจึงอาศัยไปนอนค้าง
กับเด็กสาวในหมู่บ้านให้ช่วยสอนภาษา เพียงสามเดือนก็พูดได้ จนญาติแปลกใจว่า
สามารถพูดกะเหรี่ยงได้คล่องกว่าเดิม
“ภาษามีส่วนส�าคัญในการท�างานกับหญิงกะเหรี่ยง บางทีเขาไม่ค่อยคุยภาษาไทย เพราะ
ไม่ได้เรียนหนังสือ และวัฒนธรรมที่ให้ผู้ชายออกมาเป็นผู้น�าข้างนอก แต่ความจริงแล้ว
ผู้หญิงมีอ�านาจในการตัดสินใจ ถ้าเราพูดภาษาไม่ได้จะเข้าไม่ถึงในการท�างาน”
นักพัฒนาหญิงตัวคนเดียวลงไปทำางานในหมู่บ้านช่วงแรกเป็นงานส่งเสริมคล้าย
เจ้าหน้าที่เกษตร แต่ก็ดูแลไปถึงเรื่องสุขาภิบาลและสุขอนามัย เนื่องจากพบว่าเด็ก
ในหมู่บ้านมีภาวะโภชนาการยำ่าแย่ นำ้าหนักตกเกณฑ์ โดยทำางานประสานกับเจ้าหน้าที่
อนามัย เข้าไปช่วยแนะนำาเรื่องการทำาอาหารเสริมอย่างนมถั่วเหลืองซึ่งนำาวัตถุดิบ
มาจากการส่งเสริมปลูกถั่วเหลืองอีกทางหนึ่ง
จีรพงศ์ พวงทอง อดีตเจ้าหน้าที่แม่แจ่ม ร่วมยุคกับกาญจนา ยังช่วยฟื้นความหลังว่า
งานช่วงนั้นอยู่ภายใต้โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยองค์กรชุมชน เน้นการ
ทำางานแบบมีส่วนร่วม รับผิดชอบงานด้านการเกษตร เข้าไปสนับสนุนการปลูกพืชเสริม
เช่น ถั่วแดง ถั่วเหลือง กระเจี๊ยบ ละหุ่ง ควบคู่ไปกับไม้ผล โดยแต่เดิมชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่
เป็นชาวกะเหรี่ยงนั้นมักจะทำาไร่หมุนเวียน แต่ทางโครงการจะเข้าไปหาพันธุ์ข้าว
2
ที่เหมาะสมกับพื้นที่สูงเป็นทางเลือก ให้ได้ผลผลิตมากขึ้น เพื่อบริโภคในครัวเรือน
และให้ชีวิตพอมีเงินใช้บ้าง
2 ไร่หมุนเวียน เป็นระบบการเพาะปลูกของชาวกะเหรี่ยงที่มักปลูกพืชระยะสั้นในแปลงหนึ่งประมาณหนึ่งปี จากนั้นเว้น
การใช้พื้นที่นั้นไป 4-5 ปี เพื่อปล่อยให้ดินฟื้นตัว มีสภาพคล้ายป่า แล้วจึงกลับมาใช้พื้นที่แปลงนั้นอีกครั้ง โดยจะไม่
ตัดต้นไม้ออกทั้งหมดแต่จะเหลือให้สูงไว้ราวเอวเพื่อให้แตกยอดขึ้นมาใหม่ ในสายตาของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ไม่เห็นว่าเป็น
การใช้พื้นที่เกษตรเพราะขาดความต่อเนื่อง
ผู้หญิงก้าวเดิน 83